Rechercher dans ce blog

Monday, May 31, 2021

PTT ผนึกกำลัง “Foxconn” พัฒนาตลาดผลิตรถ EV ไทย ขึ้นแท่น Hub โลก • ข่าวหุ้นธุรกิจออนไลน์ - ข่าวหุ้นธุรกิจออนไลน์

บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หรือ PTT ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการลงทุนอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยกับบริษัท หงไห่ พริซิชั่น อินดัสทรี จำกัด (Hon Hai Precision Industry Co., Ltd.) หรือ ฟ็อกซ์คอนน์ กรุ๊ป (Foxconn Technology Group) 

สำหรับความร่วมมือนี้เป็นการผสานความเชี่ยวชาญของ Foxconn ที่เป็นผู้นำการผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์รายใหญ่ที่สุดของโลก และความสามารถด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยี รวมถึงความแข็งแกร่งด้านธุรกิจพลังงาน ของ ปตท. ทั้งเครือข่ายพันธมิตร กลุ่มบริษัทในเครือและผู้ร่วมทุนปัจจุบัน ในการพัฒนาแพลตฟอร์มการผลิต และเสริมศักยภาพระบบนิเวศ ด้วยเทคโนโลยีที่ล้ำสมัย ตลอดห่วงโซ่คุณค่ายานยนต์ไฟฟ้า

รวมทั้งส่งเสริมให้ผู้รับผลิตสินค้า (Original Equipment Manufacturers:OEMs) ในประเทศไทย ที่มีความสนใจสามารถเข้าถึงการบริการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการผลิตรถยนต์พลังงานไฟฟ้าได้อย่างรวดเร็วและใช้ต้นทุนต่ำ เพื่อร่วมสร้างอนาคตแห่งการเดินทางด้วยยานยนต์ไฟฟ้าอย่างยั่งยืน

นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ PTT เปิดเผยว่า รูปแบบการใช้พลังงานในอนาคต จะมุ่งไปด้าน GO GREEN และ GO ELECTRIC มากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการเดินทางของประชาชน ซึ่งในช่วงของการเปลี่ยนผ่านพลังงานดังกล่าว เชื่อว่าเชื้อเพลิงแบบดั้งเดิมจะยังเป็นพลังงานที่สำคัญ แต่ในขณะเดียวกันก็จำเป็นต้องเร่งพัฒนาและปรับตัวเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงสู่ทิศทางพลังงานในอนาคตอย่างอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ที่มีบทบาทสำคัญในการผลักดันและสร้างการเติบโตให้กับเศรษฐกิจของประเทศ

ทั้งนี้ที่ผ่านมา ปตท. ได้เริ่มรุกเข้าสู่ EV Value Chain โดยจับมือพันธมิตรทางธุรกิจ ในการพัฒนา EV Charging Platform, EV Station รวมถึงการลงทุนในธุรกิจแบตเตอรี่สำหรับยานยนต์ไฟฟ้า ดังนั้น ความร่วมมือกับ Foxconn ในครั้งนี้ จะกระตุ้นให้เกิดการลงทุนในประเทศ เสริมสร้างทักษะและอาชีพให้กับประชาชน เพื่อเป็นรากฐานสำคัญสู่อุตสาหกรรมเป้าหมายในอนาคตและเป็นต้นแบบนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางด้านพลังงานให้กับประเทศได้ต่อไป

ในระยะแรก ปตท. และ Foxconn ตั้งเป้าหมายที่จะจัดตั้งแพลตฟอร์มการผลิตรถยนต์พลังงานไฟฟ้า และส่วนประกอบหลักต่าง ๆ แบบ end-to-end ด้วยเงินร่วมลงทุนขั้นต้นที่ 1-2 พันล้านเหรียญสหรัฐ และจะขยายการลงทุนในอนาคตต่อไป ซึ่งจะเพิ่มศักยภาพทางธุรกิจสู่เวทีโลกในอนาคต

นอกจากนี้ ยังเป็นการตอบสนองนโยบายและทิศทาง การส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้าของภาครัฐ ที่มุ่งยกระดับอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าเป็นอุตสาหกรรมเป้าหมาย พร้อมขับเคลื่อนประเทศให้บรรลุเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกอีกด้วย” นายอรรถพล กล่าวเสริม

ด้าน นาย ยัง ลวือ ประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ฟ็อกซ์คอนน์ กรุ๊ป กล่าวว่า เป้าหมายของความร่วมมือในครั้งนี้ คือการเปิดโอกาสให้ลูกค้าหรือผู้ที่สนใจทั่วโลก ได้เชื่อมต่อสังคมแห่งการเดินทางด้วยเทคโนโลยีอัจฉริยะ ความเชี่ยวชาญของ Foxconn ในฐานะผู้นำด้านนวัตกรรมของโลก ทำให้การผนึกความร่วมมือกับภาครัฐ และ ปตท. ในการถ่ายทอดวิสัยทัศน์ ประสบการณ์ และความชำนาญเกี่ยวกับอุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าที่พร้อมสำหรับอนาคต

โดยที่ผ่านมา ปตท. ได้พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการชาร์จพลังงานและแบตเตอรี่สำหรับรถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่ Foxconn จะสามารถแบ่งปันความเชี่ยวชาญและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องเพื่อช่วยสร้างระบบนิเวศที่แข็งแกร่งขึ้น เรามุ่งหวังที่จะเห็นประเทศไทยก้าวสู่การเป็นผู้นำระดับโลกในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าในอนาคต

Adblock test (Why?)


PTT ผนึกกำลัง “Foxconn” พัฒนาตลาดผลิตรถ EV ไทย ขึ้นแท่น Hub โลก • ข่าวหุ้นธุรกิจออนไลน์ - ข่าวหุ้นธุรกิจออนไลน์
Read More

ราคาทองคำแท่งวันนี้บาทละ 28200.00 บาท - อาร์วายที9

รายงานราคาทอง (ทองคำ 96.5%) ประจำวันที่ 1 มิถุนายน 2564 ตามประกาศ ของสมาคมค้าทองคำ ++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

ซื้อ (บาท) ขาย (บาท)

 ทองคำแท่ง          28,100.00    28,200.00
 ทองรูปพรรณ         27,591.20    28,700.00
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

--อินโฟเควสท์ โดย วิภาดา ภัคพลชวัล โทร.02-2535000 อีเมล์: wipada.p@infoquest.co.th--

Adblock test (Why?)


ราคาทองคำแท่งวันนี้บาทละ 28200.00 บาท - อาร์วายที9
Read More

ลุ้น ครม.อัด 1.4 แสนล้าน เคาะ 'คนละครึ่ง-ยิ่งใช้ยิ่งได้' - กรุงเทพธุรกิจ

1 มิถุนายน 2564 | โดย นครินทร์ ศรีเลิศ

52

“สุพัฒนพงษ์” เผยคลังชงแพ็คเกจเยียวยา-พยุงเศรษฐกิจเข้า ครม.วันนี้ 1.4 แสนล้าน “คนละครึ่ง-ยิ่งใช้ยิ่งได้” หนุนจีดีพีโต 1.5-2.5% เตรียมเร่งสปีดลงทุนรัฐและเอกชนในครึ่งปีหลัง

นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า การประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันนี้ (1 มิ.ย.) กระทรวงการคลังจะเสนอมาตรการดูแลประชาชนจากผลกระทบของโควิด-19 ระยะที่ 2 ซึ่งชุดมาตรการจะเริ่มใช้ในเดือน ก.ค.-ธ.ค. 2564 กรอบวงเงิน 1.4 แสนล้านบาท

ทั้งนี้ มั่นใจเม็ดเงินทั้งจากรัฐบาลและประชาชนจากโครงการเยียวยาที่ลงสู่ระบบเศรษฐกิจช่วงที่เหลือปีนี้จะช่วยให้เศรษฐกิจขยายตัวได้ 1.5-2.5% ตามที่สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) คาดการณ์ไว้ 

สำหรับรายละเอียดของมาตรการที่กระทรวงการคลังจะเสนอให้ ครม.พิจารณา ประกอบด้วย 4 โครงการ ได้แก่ 

1.มาตรการคนละครึ่งระยะที่ 3 วงเงิน 9.3 หมื่นล้านบาท ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมาย  31 ล้านคน ให้สิทธิ์ใช้จ่ายไม่เกิน 150 บาท วงเงิน 3,000 บาทต่อคน โดยโครงการนี้จะช่วยเหลือผู้ประกอบการขนาดเล็กจนถึงผู้ประกอบการขนาดกลางจะประโยชน์จากการใช้จ่ายของประชาชนมากขึ้น

2.โครงการยิ่งใช้ยิ่งได้ โดยจะมีผู้ร่วมโครงการ 4 ล้านคน (จากกลุ่มคนที่มีกำลังซื้อ 6 ล้านคน)  โดยภาครัฐสนับสนุนบัตรกำนัลอิเล็กทรอนิกส์ (e-Voucher) ให้ผู้ได้รับสิทธิโครงการสูงสุดไม่เกิน 7,000 บาทต่อคน โดยผู้เข้าโครงการจะได้รับการสนับสนุน E-Voucher จากภาครัฐช่วง ก.ค.-ก.ย.2564 เพื่อใช้จ่ายเดือน ส.ค.-ธ.ค.2564 ซึ่งจะมีการใช้จ่ายคนละ 60,000 บาท ช่วยให้มีเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจจากโครงการนี้ 2.4 แสนล้านบาท ส่วนภาครัฐจะใช้เงินในโครงการนี้ 2.8 หมื่นล้านบาท 

3.โครงการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐระยะ 3 โดยช่วยเหลือเพิ่มเติมเดือนละ 200 บาท ระยะเวลา 6 เดือน (ก.ค.-ธ.ค.2564) ครอบคลุมประชาชน 13.6 ล้านคน โดยให้ความช่วยเหลือเพิ่มเติมเดือนละ 200 บาท ระยะเวลา 6 เดือน วงเงิน 1.64 หมื่นล้านบาท 

4.โครงการเพิ่มกำลังซื้อให้ผู้ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษ รวมทั้งกลุ่มผู้พิการและผู้สูงอายุด้วย 2.5 ล้านคน เดือนละ 200 บาท ระยะเวลา 6 เดือน ใช้งบ 3,000 ล้านบาท 

นายสุพัฒนพงษ์ กล่าวว่า เศรษฐกิจมีหลายส่วนที่สัญญาณที่ดีขึ้น โดยเฉพาะภาคการส่งออกที่ฟื้นตัวชัดเจน ซึ่งเดือน เม.ย.การส่งออกที่ไม่รวมทองคำขยายตัวถึง 25% ทำให้เห็นจุดแข็งของซัพพลายเชนไทยหลายอุตสาหกรรม เช่น อาหาร อิเล็กทรอนิกส์ ที่ส่งออกสูงติดต่อกันหลายเดือน และการส่งออกเป็นกุญแจสำคัญอีกอย่างในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจปีนี้ 

สำหรับการลงทุนภาครัฐและลงทุนภาคเอกชนต้องพยายามขับเคลื่อนการลงทุนมากที่สุด ซึ่งการลงทุนภาครัฐต้องทำให้ได้ตามเป้าหมาย และงบประมาณลงทุนภาครัฐไม่น้อยกว่า 70% งบเหลื่อมปีไม่น้อยกว่า 85% งบลงทุนรัฐวิสาหกิจต้องทำได้ไม่น้อยกว่า 70% ส่วนแผนงานและโครงการตาม พ.ร.ก.เงินกู้ 1 ล้านล้านบาท ต้องเบิกจ่ายสะสม ณ สิ้นปีงบประมาณ 2564 ไม่น้อยกว่า 80% ของวงเงินกู้ตามที่ สศช.เสนอแนะไว้

สำหรับการลงทุนภาคเอกชนมีสัญญาณดีขึ้นมาก โดยไตรมาส 1 ปีนี้ คำขอส่งเสริมการลงทุนที่สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) รายงานมูลค่าเพิ่มขึ้น 80% ซึ่งรัฐบาลจะพยายามผลักดันภาคเอกชนที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนให้เร่งลงทุนเพื่อช่วยให้เศรษฐกิจเติบโต รวมทั้งจะเน้นชักจูงการลงทุนอุตสาหกรรมเป้าหมาย เช่น เมดิคัลฮับ รถยนต์ไฟฟ้า 

“มาตรการที่ ครม.จะอนุมัติ 1.4 แสนล้านบาท รวมกับการใช้จ่ายของประชาชนจะช่วยให้เศรษฐกิจขยายตัวตามกรอบที่ สศช.คาดการณ์แต่จะถึง 2.5% หรือไม่ประเมินยากถึงแม้รัฐบาลจะประเมินไว้ว่าจะควบคุมระลอก 3 ได้ในเดือน ก.ค.นี้ แต่ต้องระวังระลอก 4 ซึ่งก็ขอให้ไม่มีเกิดขึ้น”นายสุพัฒนพงษ์ กล่าว 

Adblock test (Why?)


ลุ้น ครม.อัด 1.4 แสนล้าน เคาะ 'คนละครึ่ง-ยิ่งใช้ยิ่งได้' - กรุงเทพธุรกิจ
Read More

'บิ๊กตู่' โชว์วิชั่น ดันไทยศูนย์กลางผลิตยานยนต์ไฟฟ้าอาเซียน สู่ระดับท็อปโลก - มติชน

“ประยุทธ์”หนุนไทยก้าวสู่อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า

เมื่อเวลา 15.30 น.วันที่ 31 พฤษภาคม ที่ห้อง PMOC ชั้น 2 ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม เป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการลงทุนอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย ระหว่าง บริษัท ปตท.จำกัด(มหาชน) กับ Hon Hai Precision Industry Co., Ltd. (Foxconn Technology Group) ในรูปแบบเสมือนจริง (Virtual MOU Signing Ceremony) จัดขึ้นที่กรุงเทพฯ ประเทศไทย และกรุงไทเป ไต้หวัน เพื่อศึกษาโอกาสการพัฒนาฐานการผลิตยานยนต์พลังงานไฟฟ้าในประเทศไทย ซึ่งความร่วมมือนี้จะเป็นการผลักดันให้อุตสาหกรรมยานยนต์ในประเทศไทยเปลี่ยนผ่านสู่เทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้า สมัยใหม่ ส่งเสริมอุตสาหกรรมการผลิตและเศรษฐกิจของประเทศให้เติบโตและเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันในระดับสากลมากยิ่งขึ้น โดยมีนายสุพัฒน์พงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน นายดิสทัต โหตระกิตย์ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นางสาวดวงใจ อัศวจินตจิตร์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ศาสตราจารย์พิเศษ นายทศพร ศิริสัมพันธ์ ประธานคณะกรรมการ ปตท. พร้อมด้วย ผู้บริหารหน่วยงานภาครัฐ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมเป็นสักขีพยาน

นายกรัฐมนตรีกล่าวแสดงความยินดีที่ได้ร่วมในพิธีลงนามข้อตกลงความร่วมมือโครงการ ลงทุนอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยระหว่าง บริษัท ปตท. จํากัด (มหาชน) และฟอกซ์คอนน์ เทคโนโลยี กรุ๊ป (Foxconn Technology Group) รัฐบาลไทยให้ความสำคัญในการส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้า โดยมีนโยบายและกำหนดทิศทางยกระดับให้อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า เป็นอุตสาหกรรมเป้าหมายด้วยรักษาและต่อยอดความเป็นผู้นําของฐานการผลิตยานยนต์เพื่อการส่งออกในภูมิภาค ที่ผ่านมาได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ โดยตั้งเป้าหมายการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าจะเติบโตเป็น 30% ของการผลิตรถยนต์ทั้งหมดในประเทศภายในปี ค.ศ.2030 (พ.ศ. 2573) เท่ากับการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าประมาณ 7 แสนคันต่อปี ยํ้าจุดยืนของประเทศไทยที่จะเป็นศูนย์กลางการลงทุนยานยนต์ไฟฟ้าสําคัญของอาเซียน และส่งผลให้ประเทศบรรลุเป้าหมายในการลดก๊าซเรือนกระจกอีกด้วย

นายกรัฐมนตรีกล่าวยืนยันว่าพร้อมส่งเสริมระบบนิเวศอื่นๆ ที่จะเกื้อหนุนให้การใช้รถยนต์ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นในประเทศตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทาง ด้วยความร่วมมือภาครัฐและเอกชน เพื่อเตรียมความพร้อมรองรับการดำเนินงานด้านยานยนต์ไฟฟ้าให้เกิดผลเป็นรูปธรรม ทั้งการเชื่อมโยงผู้ผลิตชิ้นส่วนและอุปกรณ์ที่เกี่ยวเนื่อง และผลักดันผู้ประกอบการที่มีศักยภาพ ประเทศไทยในฐานะเป็นฐานการผลิตรถยนต์ชั้นนําในอาเซียนแล้ว ยังอยู่ใน 12 อันดับแรกของฐานการผลิตรถยนต์ระดับโลก

ในตอนท้าย นายกรัฐมนตรีได้ขอให้การดำเนินงานของ ปตท. และฟอกซ์คอนน์เทคโนโลยี กรุ๊ป (Foxconn Technology Group) ประสบผลสําเร็จตามที่ตั้งเป้าหมายไว้ พร้อมเชื่อมั่นว่าความร่วมมือในครั้งนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นสําคัญ ที่ไม่เพียงแต่จะเป็นประโยชน์ต่อทั้ง 2 องค์กรเท่านั้น แต่จะยังช่วยเป็นฟันเฟืองสําคัญ ขับเคลื่อนประเทศไทยให้ก้าวไปสู่อนาคต ของเศรษฐกิจ นวัตกรรม และสิ่งแวดล้อมที่ดียิงขึ้นได้ต่อไป

ขณะที่นายทศพร ศิริสัมพันธ์ ประธานคณะกรรมการ ปตท. กล่าวถึงความร่วมมือ ปตท. และฟอกซ์คอนน์เทคโนโลยี กรุ๊ป ว่า จะสนับสนุนการผลิตรถรถยนต์ไฟฟ้า โดยตั้งเป้าหมายที่จะจัดตั้งแพลตฟอร์มการผลิตรถยนต์พลังงานไฟฟ้า และส่วนประกอบหลักต่าง ๆ แบบ end-to-end ด้วยเงินร่วมลงทุนขั้นต้นที่ 1 พันล้านเหรียญสหรัฐ และจะขยายการลงทุนเป็น 2 พันล้านเหรียญสหรัฐในอนาคตต่อไป สร้างโอกาสทางธุรกิจและการพัฒนา รวมทั้งทำให้คนไทยสามารถเข้าถึงรถยนต์ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้าที่ผลิตในประเทศไทยที่มีต้นทุนต่ำกว่าและมีความยั่งยืนในอนาคต

ด้าน Mr. Young Liu, Chairman and CEO of Foxconn กล่าวถึงเป้าหมายของความร่วมมือในครั้งนี้ว่า เป็นการเปิดโอกาสให้ลูกค้าหรือผู้ที่สนใจทั่วโลก ได้เชื่อมต่อสังคมแห่งการเดินทางด้วยเทคโนโลยีอัจฉริยะ ความเชี่ยวชาญของ Foxconn ในฐานะผู้นำด้านนวัตกรรมของโลก ทำให้เราผนึกความร่วมมือกับภาครัฐ และ ปตท. ในการถ่ายทอดวิสัยทัศน์ ประสบการณ์ และความชำนาญเกี่ยวกับอุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าที่พร้อมสำหรับอนาคต ซึ่งที่ผ่านมา ปตท. ได้ พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการชาร์จพลังงานและแบตเตอรี่สำหรับรถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่ Foxconn จะสามารถแบ่งปันความเชี่ยวชาญและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องเพื่อช่วยสร้างระบบนิเวศที่แข็งแกร่งขึ้น เรามุ่งหวังที่จะเห็นประเทศไทยก้าวสู่การเป็นผู้นำระดับโลกในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าในอนาคต

Adblock test (Why?)


'บิ๊กตู่' โชว์วิชั่น ดันไทยศูนย์กลางผลิตยานยนต์ไฟฟ้าอาเซียน สู่ระดับท็อปโลก - มติชน
Read More

ปตท. ลงขัน ฟ็อกซ์คอนน์ 2 พันล้านเหรียญฯ ดันไทยศูนย์กลางผลิตรถอีวีของอาเซียน - มติชน

ปตท. ลงขัน ฟ็อกซ์คอนน์ 2 พันล้านเหรียญฯ ดันไทยศูนย์กลางผลิตยานยนต์ไฟฟ้าของอาเซียน

เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานใน พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการลงทุนอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย ระหว่าง บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กับ บริษัท หงไห่ พริซิชั่น อินดัสทรี จำกัด (Hon Hai Precision Industry Co., Ltd.) หรือ ฟ็อกซ์คอนน์ กรุ๊ป (Foxconn Technology Group) ในรูปแบบเสมือนจริง (Virtual MOU Signing Ceremony) จัดขึ้น ณ กรุงเทพฯ ประเทศไทย และ กรุงไทเป ไต้หวัน โดยมี นายสุพัฒน์พงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน นายดิสทัต โหตระกิตย์ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นางสาวดวงใจ อัศวจินตจิตร์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.ทศพร ศิริสัมพันธ์ ประธานคณะกรรมการ ปตท. พร้อมด้วย ผู้บริหารหน่วยงานภาครัฐ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมเป็นสักขีพยาน เพื่อศึกษาโอกาสในการพัฒนาฐานการผลิตยานยนต์พลังงานไฟฟ้าในประเทศไทย ซึ่งความร่วมมือนี้จะเป็นการผลักดันให้อุตสาหกรรมยานยนต์ในประเทศไทยเปลี่ยนผ่านสู่เทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้าสมัยใหม่ ส่งเสริมอุตสาหกรรมการผลิตและเศรษฐกิจของประเทศ ให้เติบโตและเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันในระดับสากลมากยิ่งขึ้น

ความร่วมมือนี้เป็นการผสานความเชี่ยวชาญของ Foxconn ที่เป็นผู้นำการผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์รายใหญ่ที่สุดของโลก และความสามารถด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยี รวมถึงความแข็งแกร่งด้านธุรกิจพลังงาน ของ ปตท. ทั้งเครือข่ายพันธมิตร กลุ่มบริษัทในเครือและผู้ร่วมทุนปัจจุบัน ในการพัฒนาแพลตฟอร์มการผลิต และเสริมศักยภาพระบบนิเวศ ด้วยเทคโนโลยีที่ล้ำสมัย ตลอดห่วงโซ่คุณค่ายานยนต์ไฟฟ้า รวมทั้งส่งเสริมให้ผู้รับผลิตสินค้า (Original Equipment Manufacturers:OEMs) ในประเทศไทย ที่มีความสนใจสามารถเข้าถึงการบริการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการผลิตรถยนต์พลังงานไฟฟ้าได้อย่างรวดเร็วและใช้ต้นทุนต่ำ เพื่อร่วมสร้างอนาคตแห่งการเดินทางด้วยยานยนต์ไฟฟ้าอย่างยั่งยืน

นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า รูปแบบการใช้พลังงานในอนาคต จะมุ่งไปด้าน GO GREEN และ GO ELECTRIC มากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการเดินทางของประชาชน ซึ่งในช่วงของการเปลี่ยนผ่านพลังงานดังกล่าว เราเชื่อว่าเชื้อเพลิงแบบดั้งเดิมจะยังเป็นพลังงานที่สำคัญ แต่ในขณะเดียวกันเราก็จำเป็นต้องเร่งพัฒนาและปรับตัวเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงสู่ทิศทางพลังงานในอนาคตอย่างอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ที่มีบทบาทสำคัญในการผลักดันและสร้างการเติบโตให้กับเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งที่ผ่านมา ปตท. ได้เริ่มรุกเข้าสู่ EV Value Chain โดยจับมือพันธมิตรทางธุรกิจ ในการพัฒนา EV Charging Platform, EV Station รวมถึงการลงทุนในธุรกิจแบตเตอรี่สำหรับยานยนต์ไฟฟ้า ดังนั้น ความร่วมมือกับ Foxconn ในครั้งนี้ จะกระตุ้นให้เกิดการลงทุนในประเทศ เสริมสร้างทักษะและอาชีพให้กับประชาชน เพื่อเป็นรากฐานสำคัญสู่อุตสาหกรรมเป้าหมายในอนาคตและเป็นต้นแบบนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางด้านพลังงานให้กับประเทศได้ต่อไป

“ในระยะแรก ปตท. และ Foxconn ตั้งเป้าหมายที่จะจัดตั้งแพลตฟอร์มการผลิตรถยนต์พลังงานไฟฟ้า และส่วนประกอบหลักต่าง ๆ แบบ end-to-end ด้วยเงินร่วมลงทุนขั้นต้นที่ 1-2 พันล้านเหรียญสหรัฐ และจะขยายการลงทุนในอนาคตต่อไป ซึ่งจะเพิ่มศักยภาพทางธุรกิจสู่เวทีโลกในอนาคต นอกจากนี้ ยังเป็นการตอบสนองนโยบายและทิศทาง การส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้าของภาครัฐ ที่มุ่งยกระดับอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าเป็นอุตสาหกรรมเป้าหมาย พร้อมขับเคลื่อนประเทศให้บรรลุเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกอีกด้วย” นายอรรถพล กล่าวเสริม

นาย ยัง ลวือ ประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหารฟ็อกซ์คอนน์ กรุ๊ป (Mr. Young Liu, Chairman and CEO of Foxconn) กล่าวว่า เป้าหมายของความร่วมมือในครั้งนี้ คือการเปิดโอกาสให้ลูกค้าหรือผู้ที่สนใจทั่วโลก ได้เชื่อมต่อสังคมแห่งการเดินทางด้วยเทคโนโลยีอัจฉริยะ ความเชี่ยวชาญของ Foxconn ในฐานะผู้นำด้านนวัตกรรมของโลก ทำให้เราผนึกความร่วมมือกับภาครัฐ และ ปตท. ในการถ่ายทอดวิสัยทัศน์ ประสบการณ์ และความชำนาญเกี่ยวกับอุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าที่พร้อมสำหรับอนาคต ซึ่งที่ผ่านมา ปตท. ได้พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการชาร์จพลังงานและแบตเตอรี่สำหรับรถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่ Foxconn จะสามารถแบ่งปันความเชี่ยวชาญและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องเพื่อช่วยสร้างระบบนิเวศที่แข็งแกร่งขึ้น เรามุ่งหวังที่จะเห็นประเทศไทยก้าวสู่การเป็นผู้นำระดับโลกในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าในอนาคต

QR Code LINE @Matichon

เกาะติดทุกสถานการณ์จาก
Line @Matichon ได้ที่นี่

LINE @Matichon

บทความก่อนหน้านี้นักธุรกิจบุรีรัมย์ แนะคืนทับหลังปราสาทหนองหงส์ไว้ที่เดิม ให้คนรุ่นหลังศึกษา เสริมการท่องเที่ยว
บทความถัดไปกรุงไทย ทุ่ม 9 หมื่นลบ. ออก 5 มาตรการช่วยลูกค้าฝ่าวิกฤตโควิด 

matichon

Adblock test (Why?)


ปตท. ลงขัน ฟ็อกซ์คอนน์ 2 พันล้านเหรียญฯ ดันไทยศูนย์กลางผลิตรถอีวีของอาเซียน - มติชน
Read More

ธปท.ปลื้มเสียงตอบรับสินเชื่อบุคคลดิจิทัล2เดือนกู้ทะลุแสนราย - ประชาชาติธุรกิจ

ธปท.พอใจสินเชื่อส่วนบุคคลดิจิทัลปล่อยกู้คืบ หลังอนุมัติ “ซีมันนี่-แอสเซนด์” เริ่มธุรกิจเมื่อต้นปี ผ่านมา 2 เดือน ลูกค้าแห่กู้กว่า 1 แสนราย ชี้เป็นไปตามที่คาดหวังช่วยรายย่อยเข้าถึงแหล่งเงินทุน-ลดพึ่งพาเงินกู้นอกระบบ จ่อไฟเขียวธุรกิจเพิ่มอีก 1 ราย แย้มเป็นกลุ่มขนส่งโลจิสติกส์

นางนวอร เดชสุวรรณ์ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายสถาบันการเงินธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ภายหลังจากธปท.ได้อนุมัติผู้ประกอบการประกอบธุรกิจ“สินเชื่อส่วนบุคคลดิจิทัล” (digital personal loan)

ไปก่อนหน้านี้ จำนวน 2 ราย ได้แก่ บริษัท ซีมันนี่ (แคปปิตอล) จำกัด และบริษัท แอสเซนด์นาโน จำกัด เมื่อช่วงเดือน ก.พ.-มี.ค. 2564 ที่ผ่านมา ปัจจุบันพบว่ามีความคืบหน้าปล่อยสินเชื่อได้ค่อนข้างดี

โดยช่วงเริ่มต้นในช่วงเดือน เม.ย.ที่ผ่านมา มีปริมาณการปล่อยสินเชื่อให้กับลูกค้าได้ราว 2 หมื่นราย วงเงินสินเชื่อประมาณ 100 ล้านบาท แต่ล่าสุดจนถึงเดือน พ.ค.

พบว่ามีจำนวนลูกค้าเพิ่มขึ้นถึงระดับ 1 แสนรายแล้ว คิดเป็นยอดการปล่อยสินเชื่อ 300-400 ล้านบาท เฉลี่ยวงเงินกว่า 3,000 บาทต่อราย สะท้อนว่าลูกค้ารายย่อยสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ดีขึ้น

“แนวโน้มการปล่อยสินเชื่อบุคคลดิจิทัล ค่อนข้างมีพัฒนาการที่ดีและประสบความสำเร็จ สอดคล้องกับเป้าหมายที่วางไว้ และอยู่ในข้อกำหนด วงเงินสินเชื่อไม่เกิน 2 หมื่นบาทต่อรายต้องชำระคืนภายใน 6 เดือน

และใช้ข้อมูลทางเลือก (alternative data) มาใช้ในการปล่อยสินเชื่อ โดย ธปท.ต้องการให้ลูกค้ารายเล็กที่เข้าไม่ถึงแหล่งเงินในระบบเข้ามาใช้บริการตรงนี้ได้หรือต้องการวงเงินสภาพคล่องฉุกเฉินก็สามารถใช้ได้

ซึ่งจะช่วยลดการพึ่งพาเงินกู้นอกระบบได้ นอกจากนี้ ธปท.ยังกำหนดว่า ผู้ประกอบการจะต้องปล่อยสินเชื่อให้กับลูกค้ารายใหม่ไม่น้อยกว่า 50% ของพอร์ตสินเชื่อ เนื่องจากต้องการให้ช่วยลูกค้ารายใหม่ให้เข้าถึงระบบการเงิน และแหล่งเงินทุน ไม่ใช่ลูกค้ารายเดิมเท่านั้น” นางนวอรกล่าว

นางนวอร กล่าวด้วยว่า ธปท.อยู่ระหว่างพิจารณาอนุมัติผู้ประกอบการที่ต้องการประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลดิจิทัลเพิ่มเติมอีก 1 ราย ซึ่งเป็นผู้ประกอบธุรกิจเกี่ยวข้องกับโลจิสติกส์ คาดว่าภายในเดือน มิ.ย.นี้น่าจะมีความชัดเจนนอกจากนี้ ยังมีผู้ประกอบการอีก 1 รายที่อยู่ระหว่างการปรับปรุงระบบเทคโนโลยีและความปลอดภัยเพิ่มเติม

Adblock test (Why?)


ธปท.ปลื้มเสียงตอบรับสินเชื่อบุคคลดิจิทัล2เดือนกู้ทะลุแสนราย - ประชาชาติธุรกิจ
Read More

ผ่อนรถไม่ไหวมาทางนี้ ธปท.จัดมหกรรมไกล่เกลี่ยสินเชื่อเช่าซื้อรถช่วยลูกหนี้ - ไทยรัฐ

นางธัญญนิตย์ นิยมการ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายกำกับสถาบันการเงิน 2 ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ ธปท. กล่าวว่า ตั้งแต่ต้นปี 2563 ธปท. ได้ออกมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบมาอย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุดได้ออกมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยระยะที่ 3 เพื่อบรรเทาผลกระทบจากสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ซึ่งทำให้รายได้และความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้ลดลงอย่างมาก

ข่าวแนะนำ

นอกจากนี้ ธปท. ได้จัดงานมหกรรมไกล่เกลี่ยสินเชื่อบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคลออนไลน์ ซึ่งได้รับการตอบรับจากประชาชนค่อนข้างดี จึงได้ขยายขอบเขตของงานมหกรรมให้ครอบคลุมลูกหนี้ที่หนี้ถูกโอนขายไปยังบริษัทบริหารสินทรัพย์หนี้ ที่สำคัญของประชาชนรายย่อยอีกประเภทหนึ่ง คือ หนี้เช่าซื้อรถยนต์ทั้งในส่วนที่นำมาใช้ประกอบอาชีพหรือใช้ในการเดินทางของคนในครอบครัว

ทั้งนี้ เพื่อช่วยเหลือประชาชนให้สามารถประกอบอาชีพ หรือใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ ธปท. กรมคุ้มครองสิทธิ กระทรวงยุติธรรม สำนักงานศาลยุติธรรม สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) และผู้ให้บริการทางการเงิน 12 แห่ง ซึ่งมีส่วนแบ่งตลาดของธุรกิจเช่าซื้อรถยนต์รวมกันแล้วมากกว่าร้อยละ 6 จึงร่วมกันจัดงานมหกรรมไกล่เกลี่ยสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ออนไลน์ขึ้น ระหว่างวันที่ 1 มิ.ย. -31 ก.ค.64 เพื่อเป็นช่องทางที่จะช่วยลดภาระของลูกหนี้ซึ่งได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด 19 ระลอกใหม่ ในการชำระหนี้ของสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์

สำหรับ ความพิเศษของมหกรรมไกล่เกลี่ยสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ครั้งนี้ คือจะครอบคลุมลูกหนี้เช่าซื้อบุคคลธรรมดาทุกกลุ่ม ได้แก่

1. กลุ่มที่ยังไม่เป็นหนี้เสีย หรือ NPL หรือกลุ่มที่เป็น NPL แต่รถยังไม่ถูกยึด
2. กลุ่มลูกหนี้ที่รถถูกยึดแล้วแต่ยังไม่ถูกขายทอดตลาด
3. กลุ่มลูกหนี้ที่รถถูกขายทอดตลาดแล้ว แต่ยังมีหนี้เช่าซื้อส่วนขาด

โดยมีเป้าหมายให้ลูกหนี้เช่าซื้อรถยนต์ที่รายได้ลดลงในช่วงโควิด-19 สามารถเจรจาผ่อนชำระหนี้ได้ตามความสามารถ เพื่อให้ลูกหนี้สามารถนำรถที่ถูกยึดกลับไปใช้ในการประกอบอาชีพ และนำรถไปใช้ในชีวิตประจำวันได้เช่นเดิม ซึ่งเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนในสถานการณ์ช่วงนี้อีกทางหนึ่ง โดยความช่วยเหลือจะแตกต่างกันตามความเหมาะสมและความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้ ดังนี้

กลุ่มที่ 1. ลูกหนี้ที่ยังไม่เป็น NPL หรือเป็น NPL แล้วแต่รถยังไม่ถูกยึด แนวทางช่วยเหลือจะสอดคล้องกับมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยระยะที่ 3 ของ ธปท. ได้แก่ การปรับโครงสร้างหนี้ ลดค่างวด ขยายระยะเวลาชำระหนี้ สำหรับลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบรุนแรง สามารถขอพักชำระค่างวดได้ 3 เดือน หรือตามผลกระทบที่ลูกหนี้ได้รับ

โดยแนวทางใหม่จะคำนวณดอกเบี้ยในช่วงพักชำระหนี้จากฐานของค่างวดที่ได้พักชำระหนี้ตามเกณฑ์ของ สคบ. ซึ่งจะทำให้ดอกเบี้ยในช่วงที่พักชำระหนี้ถูกลงอย่างมาก (แนวทางเดิมเป็นการคำนวณดอกเบี้ยจากฐานของเงินต้นคงค้างทั้งหมด)

สำหรับลูกหนี้ที่เคยพักชำระค่างวดหรือปรับปรุงโครงสร้างหนี้ และได้รับผลกระทบรุนแรงจนไม่สามารถชำระหนี้ต่อไปได้ สามารถคืนรถยนต์เพื่อลดภาระหนี้ได้ และหากราคาขายรถทอดตลาดที่ได้รับต่ำกว่าภาระหนี้คงค้าง ลูกหนี้สามารถขอผ่อนปรนเพิ่มเติมได้โดยผู้ให้บริการทางการเงินอาจพิจารณายกหนี้ส่วนที่เหลือให้ตามความเหมาะสม

กลุ่มที่ 2. ลูกหนี้ที่รถถูกยึดแล้ว แต่ยังไม่ถูกขายทอดตลาด ลูกหนี้เช่าซื้อสามารถใช้ช่องทางของงานมหกรรมไกล่เกลี่ยสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ในครั้งนี้ เพื่อเจรจากับเจ้าหนี้เช่าซื้อที่ร่วมงานเพื่อขอรถที่ถูกยึดไปคืน โดยเจ้าหนี้เช่าซื้อจะชะลอการขายทอดตลาด และปรับโครงสร้างหนี้ งานมหกรรมในครั้งนี้จะช่วยให้ลูกหนี้เช่าซื้อมีโอกาสที่จะนำรถกลับไปประกอบอาชีพหรือใช้ในชีวิตประจำวันได้ ซึ่งที่ผ่านมาเจ้าหนี้กับลูกหนี้เช่าซื้อจะเจรจากันเอง ไม่มีแนวทางที่ชัดเจน ทำให้โอกาสที่ลูกหนี้จะได้รถที่ถูกยึดคืนมีไม่มาก แต่ในครั้งนี้หวังว่าลูกหนี้ที่ถูกยึดรถไป ส่วนหนึ่งจะมีโอกาสที่จะได้รับรถคืนซึ่งเป็นทางเลือกที่ได้ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย

กลุ่มที่ 3. ลูกหนี้ที่รถถูกขายทอดตลาดแล้ว แต่ยังมีมูลหนี้เช่าซื้อส่วนที่ขาด กรณีรถถูกขายทอดตลาดแล้ว ปรากฏว่าเงินที่ได้รับนั้นน้อยกว่ายอดหนี้เช่าซื้อคงเหลือ ทำให้มียอดหนี้ส่วนขาด หรือ ติ่งหนี้ ในงานมหกรรมครั้งนี้ สคบ.และ ธปท. ได้ร่วมกันศึกษาแนวคำพิพากษาของศาลยุติธรรมเกี่ยวกับการคำนวณยอดหนี้เช่าซื้อส่วนขาด และได้จัดทำโปรแกรมการคำนวณยอดหนี้เช่าซื้อส่วนขาดแบบง่ายๆ เพื่อให้ลูกหนี้จะได้ใช้คำนวณ

โดยลูกหนี้เช่าซื้อที่มีปัญหาเกี่ยวกับยอดหนี้เช่าซื้อส่วนขาดสามารถใช้ช่องทางของงานมหกรรมในครั้งนี้ไกล่เกลี่ยปัญหาที่เกิดขึ้นกับเจ้าหนี้ทั้งในส่วนที่ยังไม่มีการฟ้อง หรือฟ้องแล้ว ซึ่งคาดหวังว่าจะเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้เรื่องนี้เป็นธรรมมากขึ้น และช่วยให้เจ้าหนี้และลูกหนี้เช่าซื้อสามารถตกลงกันได้ง่ายขึ้นและตรงไปตรงมา

โดยมหกรรมไกล่เกลี่ยออนไลน์จะทำผ่านเว็บไซต์ของ กรมคุ้มครองสิทธิ กระทรวงยุติธรรม สำนักงานศาลยุติธรรม สคบ. ธปท. และศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน (ศคง.) รวมทั้ง เว็บไชต์ของผู้ให้บริการทางการเงินที่เข้าร่วมมหกรรมฯ ทั้งนี้ ขอให้ลูกหนี้ศึกษาวิธีการกรอกข้อมูลอย่างละเอียด และกรอกข้อมูลให้ถูกต้องครบถ้วน เพราะข้อมูลที่ไม่ถูกต้องจะทำให้คำขอไกล่เกลี่ยของท่านไม่ได้รับการพิจารณาช่วยเหลือ

สำหรับ ประชาชนที่ไม่ถนัดในการกรอกข้อมูลผ่านช่องทางออนไลน์ หรือต้องการความช่วยเหลือเพิ่มเติม สามารถติดต่อ ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน (ศคง.) โทรศัพท์ 1213 เพื่อขอคำแนะนำและความช่วยเหลือในการกรอกข้อมูล ในวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 8.30-16.30 น. หากนอกเวลาทำการสามารถฝากชื่อและเบอร์โทรศัพท์ได้ตลอด 24 ชั่วโมง หรือส่งอีเมลมาที่ Debtfair@bot.or.th เพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับไป

"ผู้ประกอบธุรกิจเช่าซื้อภายใต้การกำกับของ ธปท. ทุกแห่ง จะต้องให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ตามมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยระยะที่ 3 นอกจากนี้ผู้ประกอบธุรกิจเช่าซื้อหลายแห่งที่ไม่ได้อยู่ภายใต้การกำกับของ ธปท. ก็มีแนวทางในการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ด้วยเช่นกัน หากลูกหนี้ไม่ได้รับความช่วยเหลือที่เหมาะสมหรือต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม สามารถแจ้งข้อมูลได้ที่ ทางด่วนแก้หนี้ ของ ธปท. หรือ โทรศัพท์ 1213"

Adblock test (Why?)


ผ่อนรถไม่ไหวมาทางนี้ ธปท.จัดมหกรรมไกล่เกลี่ยสินเชื่อเช่าซื้อรถช่วยลูกหนี้ - ไทยรัฐ
Read More

ซีไอเอ็มบี ไทย ออโต้ ผนึกกำลัง ไทยประกันชีวิต รุกตลาดประกันสินเชื่อรถยนต์ - efinanceThai


  ซีไอเอ็มบี ไทย ออโต้ ผนึกกำลัง ไทยประกันชีวิต  รุกตลาดประกันสินเชื่อรถยนต์  นำเสนอผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตคุ้มครองสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ CIMB THAI Auto Loan Protection

  นายวิสิทธิ์ พึ่งพรสวรรค์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซีไอเอ็มบี ไทย ออโต้ จำกัด กล่าวว่า บริษัทมุ่งมั่นดูแลลูกค้าของเราโดยการคัดสรรพันธมิตรทางธุรกิจระดับคุณภาพของประเทศ ความร่วมมือกับ ไทยประกันชีวิต บริษัทประกันชั้นนำที่เข้าใจลูกค้าคนไทยเป็นอย่างดี จะยิ่งช่วยให้บริษัท ซีไอเอ็มบี ไทย ออโต้ ส่งมอบบริการที่ดีให้แก่ลูกค้าสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ ทั้งในสถานการณ์ปกติและในสถานการณ์ที่การแพร่ระบาดของโควิด -19 ที่ยังไม่คลี่คลาย เจ้าหน้าที่ของบริษัทฯ ยังคงเดินหน้าบริการและได้พยายามเต็มที่ในการดูแลลูกค้าผ่านสาขาทั้ง 40 แห่งทั่วประเทศ

  นายวิญญู ไชยวรรณ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส บริษัท ไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ไทยประกันชีวิตดำเนินธุรกิจมุ่งสู่การเป็นทุกคำตอบของชีวิต หรือ Life Solutions ผ่านการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการที่ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้อย่างครอบคลุม รวมถึงร่วมมือกับพันธมิตรธุรกิจที่มีศักยภาพ เพื่อขยายช่องทางในการเข้าถึงผู้บริโภคให้มากขึ้น ล่าสุดบริษัทฯ ได้ร่วมกับ บริษัท ซีไอเอ็มบี ไทย ออโต้ จำกัด ผู้ให้บริการสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ครบวงจรในเครือธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย (CIMBT) รุกตลาดประกันสินเชื่อรถยนต์ นำเสนอผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตคุ้มครองสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ หรือ CIMB THAI Auto Loan Protection

  “ความร่วมมือในครั้งนี้ เป็นการผสานความแข็งแกร่งของผู้เชี่ยวชาญด้านสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ คือ ซีไอเอ็มบี ไทย ออโต้ และไทยประกันชีวิตในฐานะผู้นำด้านธุรกิจประกันชีวิต ซึ่งการพัฒนาแผนความคุ้มครอง CIMB THAI Auto Loan Protection เป็นเสมือนเครื่องมือที่ช่วยในการขยายตลาด รวมถึงสร้างหลักประกันที่มั่นคงให้กับลูกค้า โดยเฉพาะในสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน และมีความไม่แน่นอนต่างๆ เกิดขึ้นมากมาย” นายวิญญูกล่าว

  บริษัทฯ มุ่งมั่นพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการที่ตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคทุกกลุ่มอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการแสวงหาพันธมิตรที่มีความเข้มแข็งที่จะช่วยเสริมด้านการขยายตลาด ทำให้ในปี 2563 ที่ผ่านมา ไทยประกันชีวิตมีเบี้ยฯ จากผลิตภัณฑ์คุ้มครองสินเชื่อด้านธุรกิจเช่าซื้อ สูงเป็นอันดับ 1 ด้วยเบี้ยประกันภัยรับรวม 3,381 ล้านบาท

  สำหรับ CIMB THAI Auto Loan Protection เป็นแผนประกันสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ที่ชำระเบี้ยประกันภัยเพียงครั้งเดียว ระยะเวลาความคุ้มครองตั้งแต่ 1-7 ปี ตามระยะเวลาที่ได้รับอนุมัติสินเชื่อ โดยให้ความคุ้มครองหลากหลาย ทั้งกรณีเสียชีวิต กรณีทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิงหรือชั่วคราวจากการเจ็บป่วยหรืออุบัติเหตุ กรณีสูญเสียอวัยวะและดวงตา รวมถึงค่ารักษาพยาบาลจากอุบัติเหตุ ซึ่งจะช่วยให้ผู้เอาประกันภัยอุ่นใจได้ว่าหากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันขึ้น ภาระหนี้สินที่มีอยู่จะไม่ตกเป็นภาระของครอบครัว รวมถึงกรรมสิทธิ์รถยนต์จะยังคงส่งมอบเป็นมรดกให้แก่ครอบครัวได้ต่อไป โดยผู้สนใจสามารถเลือกซื้อความคุ้มครองผ่านเจ้าหน้าที่ซีไอเอ็มบี ไทย ออโต้ 40 แห่งทั่วประเทศ

  พิเศษ สำหรับลูกค้าที่ทำสัญญาสินเชื่อซีไอเอ็มบี ไทย ออโต้ และเลือกซื้อความคุ้มครอง CIMB THAI Auto Loan Protection จากไทยประกันชีวิต ระหว่างวันที่ 1 มิ.ย.- 31 ก.ค. 2564 รับสิทธิประโยชน์ความคุ้มครอง Covid-19 เพิ่มเติมจากไทยประกันชีวิต นาน 6 เดือน ครอบคลุมค่ารักษาพยาบาลจากการติดเชื้อ Covid-19 วงเงิน 10,000 บาท รวมถึงหากเจ็บป่วยด้วยภาวะโคม่าจะได้รับความคุ้มครอง 200,000 บาท ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ บริษัท ซีไอเอ็มบี ไทย ออโต้ จำกัด ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือโทร 02-684-6500 วันจันทร์- ศุกร์ เวลา 08.30-17.00 น.

Adblock test (Why?)


ซีไอเอ็มบี ไทย ออโต้ ผนึกกำลัง ไทยประกันชีวิต รุกตลาดประกันสินเชื่อรถยนต์ - efinanceThai
Read More

สมาคมธนาคารไทย จับมือ ธปท.-เดอะมอลล์กรุ๊ป หนุนซอฟต์โลน เสริมสภาพคล่อง เอสเอ็มอี - มติชน

สมาคมธนาคารไทย จับมือ ธปท.-เดอะมอลล์กรุ๊ป หนุนซอฟต์โลน เสริมสภาพคล่อง เอสเอ็มอี

เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม นายผยง ศรีวนิช กกรรมการผู้จัดารใหญ่ธนาคารกรุงไทย ในฐานะประธานสมาคมธนาคารไทย กล่าวในงานสัมมนาออนไลน์ โครงการ “ประสานพลังเพื่อคู่ค้า เดินหน้าฟื้นฟูธุรกิจ” ว่า นับตั้งแต่เกิดการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19 ) ภาคการเงิน โดยสมาคมธนาคารไทย และธนาคารสมาชิก ได้ยืนหยัดเป็นอีก หนึ่งกำลังสำคัญ ในการช่วยเหลือบรรเทาผลกระทบต่อเศรษฐกิจ และลดภาระทางการเงินให้กับลูกค้าทุกกลุ่ม โดยเฉพาะลูกค้ารายย่อย และเอสเอ็มอี ที่เป็นรากฐานสำคัญของเศรษฐกิจไทย โดยร่วมกับธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ออกมาตรการช่วยเหลือลูกค้าอย่างเร่งด่วน ตั้งแต่การระบาดระลอกแรก และหลังจากนั้นก็ได้มีการการปรับมาตรการเป็นระยะ เพื่อช่วยเหลือลูกค้าได้อย่างตรงจุด

จากการระบาดของโควิด-19 ระลอกที่ 3 ที่รุนแรง และขยายวงกว้างในเวลาอันรวดเร็ว ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตและเศรษฐกิจของประเทศมากกว่าทุกครั้งที่ผ่านมา โดยคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน หรือ กกร.ได้ปรับลดการประมาณการการเติบโตของเศรษฐกิจ (จีดีพี) ปี 2564 เหลือเพียง 0.5-2.0% ซึ่งได้รวมผลลัพธ์จากมาตราการของรัฐบาลที่ได้มีการประกาศออกมาแล้วด้วย

ความรุนแรงของโควิด-19 ระลอกใหม่ ทำให้ทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชนผู้ประกอบการ ภาคธนาคาร และภาคประชาชน ต้องร่วมมือกัน”ช่วยเหลือประเทศใน ทุกๆด้าน ทั้งการเข้าไปมีส่วนร่วมในการเร่งกระจายวัคซีนป้องกันโควิด- 19 รวมทั้งการช่วยเหลือลูกค้าธนาคารที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ก็เป็นเรื่องที่เร่งด่วนเช่นเดียวกัน จึงให้ความร่วมมือกับ ธปท.ได้ออกมาตรการฟื้นฟูธุรกิจ เพื่อช่วยลูกค้าประคองกิจการ รักษาการจ้างงาน เพื่อให้สามารถกลับมาทำธุรกิจได้ตามปกติ หลังสถานการณ์โควิด-19 คลี่คลาย ได้แก่ 1.มาตรการสินเชื่อฟื้นฟู วงเงินรวม 2.5 แสนล้านบาท โดยให้สินเชื่อแก่ผู้ประกอบการ ซึ่งตั้งเป้าระยะ 6 เดือนแรก คาดว่าจะปล่อยสินเชื่อฟื้นฟูประมาณ 1 แสนล้านบาท และ 2.มาตรการพักทรัพย์ พักหนี้ วงเงินรวม 1 แสนล้านบาท เพื่อช่วยเหลือลูกค้าธุรกิจที่มีศักยภาพและมีทรัพย์สินเป็นหลักประกัน สามารถลดภาระทางการเงินชั่วคราว

สมาคมธนาคารไทย ยังได้หารือใกล้ชิดกับภาคธุรกิจ ผ่านสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เพื่อจัดหาแนวทางช่วยเหลือผู้ประกอบการเป็นรายธุรกิจ ผ่านกลไกที่แต่ละธนาคารมี เริ่มจากธุรกิจค้าปลีก เนื่องจากธุรกิจค้าปลีกมีบทบาทสำคัญต่อเศรษฐกิจไทย มีเม็ดเงินหมุนเวียนและผู้ประกอบการเกี่ยวข้องจำนวนมาก โดยเฉพาะเอสเอ็มอี มีผู้ประกอบการเกี่ยวข้องถึง 2.5 ล้านราย หรือประมาณ 81% ของผู้ประกอบการเอสเอ็มอีทั้งหมด และมีการจ้างงานมากที่สุด ถึง 9 ล้านคน คิดเป็นประมาณ 77% ของการจ้างงานในภาคเอสเอ็มอี

โดยความร่วมมือของภาคสถาบันการเงินกับเดอะมอลล์กรุ๊ป ภายใต้โครงการ “ประสานพลังเพื่อคู่ค้า เดินหน้าฟื้นฟูธุรกิจ” นับเป็นความร่วมมือครั้งสำคัญในการช่วยเหลือผู้ประกอบการร้านค้า ซัพพลายเออร์ เอสเอ็มอี ผู้ประกอบการรายย่อยที่เป็นคู่ค้ากว่า 6,000 ราย สามารถเข้าถึงสินเชื่อฟื้นฟู เพื่อเสริมสภาพคล่องทางการเงิน ผ่านผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่แต่ละธนาคารมีอยู่ในส่วนของธนาคารกรุงไทย มี 2 มาตรการ 1.สินเชื่อฟื้นฟู เพื่อเสริมสภาพคล่องให้กับผู้ประกอบการ และ 2.สินเชื่อประเภทเงินทุนหมุนเวียนสำหรับคู่ค้าของเดอะมอลล์กรุ๊ป จากความร่วมมือในครั้งนี้ คาดว่าจะช่วยให้ผู้ประกอบการธุรกิจค้าปลีก ตลอดทั้งที่เกี่ยวเนื่องสามารถประคองธุรกิจ รักษาการจ้างงาน และลดภาระทางการเงินในช่วงนี้ เพื่อให้ธุรกิจสามารถผ่านพ้นวิกฤตครั้งนี้ไปได้ โดยธนาคารพร้อมช่วยเหลือลูกค้าธุรกิจให้เข้าถึงสภาพคล่องอย่างเต็มที่

QR Code LINE @Matichon

เกาะติดทุกสถานการณ์จาก
Line @Matichon ได้ที่นี่

LINE @Matichon

บทความก่อนหน้านี้แจ๊ค โพสต์ขอโทษหลังเจอดราม่าหนัก ด้านมดดำวอนชาวเน็ตเลิกด่า บอกได้เสื้อคืนทุกตัว
บทความถัดไปแกวิน แมคเคลาด์ กัปตัน ‘The Love Boat’ ซิทคอมดังยุค 70 เสียชีวิตในวัย 90 ปี

matichon

Adblock test (Why?)


สมาคมธนาคารไทย จับมือ ธปท.-เดอะมอลล์กรุ๊ป หนุนซอฟต์โลน เสริมสภาพคล่อง เอสเอ็มอี - มติชน
Read More

ธปท. เปิดมหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้เช่าซื้อรถยนต์ผ่านออนไลน์ 1 มิ.ย.-30 ก.ค.นี้ - ประชาชาติธุรกิจ

Photo by Mladen ANTONOV / AFP

ธปท. เปิดมหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้เช่าซื้อรถยนต์ผ่านออนไลน์ 1 มิ.ย.-30 ก.ค.นี้ เป็นหนี้เสียแล้วก็แก้ได้

วันที่ 31 พฤษภาคม 2564 นางธัญญนิตย์ นิยมการ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายกำกับสถาบันการเงิน 2 ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ตั้งแต่ต้นปี 2563 ธปท. ได้ออกมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบมาอย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุดได้ออกมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยระยะที่ 3 เพื่อบรรเทาผลกระทบจากสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ซึ่งทำให้รายได้และความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้ลดลงอย่างมาก

นอกจากนี้ ธปท. ได้จัดงานมหกรรมไกล่เกลี่ยสินเชื่อบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคลออนไลน์ ซึ่งได้รับการตอบรับจากประชาชนค่อนข้างดี จึงได้ขยายขอบเขตของงานมหกรรมให้ครอบคลุมลูกหนี้ที่หนี้ถูกโอนขายไปยังบริษัทบริหารสินทรัพย์

ธัญญนิตย์ นิยมการ
ธัญญนิตย์ นิยมการ

หนี้ที่สำคัญของประชาชนรายย่อยอีกประเภทหนึ่ง คือ หนี้เช่าซื้อรถยนต์ทั้งในส่วนที่นำมาใช้ประกอบอาชีพหรือใช้ในการเดินทางของคนในครอบครัว ทั้งนี้ เพื่อช่วยเหลือประชาชนให้สามารถประกอบอาชีพ หรือใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ ธปท. กรมคุ้มครองสิทธิ กระทรวงยุติธรรม สำนักงานศาลยุติธรรม สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) และผู้ให้บริการทางการเงิน 12 แห่ง (ซึ่งมีส่วนแบ่งตลาดของธุรกิจเช่าซื้อรถยนต์รวมกันแล้วมากกว่าร้อยละ 65)

จึงร่วมกันจัดงานมหกรรมไกล่เกลี่ยสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ออนไลน์ขึ้น ระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน ถึง 31 กรกฎาคม 2564 เพื่อเป็นช่องทางที่จะช่วยลดภาระของลูกหนี้ซึ่งได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด 19 ระลอกใหม่ ในการชำระหนี้ของสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์

ความพิเศษของมหกรรมไกล่เกลี่ยสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ครั้งนี้ คือจะครอบคลุมลูกหนี้เช่าซื้อบุคคลธรรมดาทุกกลุ่ม ได้แก่ (1) กลุ่มที่ยังไม่เป็นหนี้เสีย (NPL) หรือกลุ่มที่เป็น NPL แต่รถยังไม่ถูกยึด (2) กลุ่มลูกหนี้ที่รถถูกยึดแล้วแต่ยังไม่ถูกขายทอดตลาด และ (3) กลุ่มลูกหนี้ที่รถถูกขายทอดตลาดแล้ว แต่ยังมีหนี้เช่าซื้อส่วนขาด

โดยมีเป้าหมายให้ลูกหนี้เช่าซื้อรถยนต์ที่รายได้ลดลงในช่วงโควิด-19 สามารถเจรจาผ่อนชำระหนี้ได้ตามความสามารถ เพื่อให้ลูกหนี้สามารถนำรถที่ถูกยึดกลับไปใช้ในการประกอบอาชีพและนำรถไปใช้ในชีวิตประจำวันได้เช่นเดิม ซึ่งเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนในสถานการณ์ช่วงนี้อีกทางหนึ่ง โดยความช่วยเหลือจะแตกต่างกันตามความเหมาะสมและความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้ กล่าวคือ

กลุ่มแรก ลูกหนี้ที่ยังไม่เป็น NPL หรือเป็น NPL แล้วแต่รถยังไม่ถูกยึด แนวทางช่วยเหลือจะสอดคล้องกับมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยระยะที่ 3 ของ ธปท. ได้แก่ การปรับโครงสร้างหนี้ ลดค่างวด ขยายระยะเวลาชำระหนี้ สำหรับลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบรุนแรง สามารถขอพักชำระค่างวดได้ 3 เดือน หรือตามผลกระทบที่ลูกหนี้ได้รับ

โดยแนวทางใหม่จะคำนวณดอกเบี้ยในช่วงพักชำระหนี้จากฐานของค่างวดที่ได้พักชำระหนี้ตามเกณฑ์ของ สคบ. ซึ่งจะทำให้ดอกเบี้ยในช่วงที่พักชำระหนี้ถูกลงอย่างมาก (แนวทางเดิมเป็นการคำนวณดอกเบี้ยจากฐานของเงินต้นคงค้างทั้งหมด)

สำหรับลูกหนี้ที่เคยพักชำระค่างวดหรือปรับปรุงโครงสร้างหนี้ และได้รับผลกระทบรุนแรงจนไม่สามารถชำระหนี้ต่อไปได้ สามารถคืนรถยนต์เพื่อลดภาระหนี้ได้ และหากราคาขายรถทอดตลาดที่ได้รับต่ำกว่าภาระหนี้คงค้าง ลูกหนี้สามารถขอผ่อนปรนเพิ่มเติมได้โดยผู้ให้บริการทางการเงินอาจพิจารณายกหนี้ส่วนที่เหลือให้ตามความเหมาะสม

กลุ่มที่ 2 ลูกหนี้ที่รถถูกยึดแล้ว แต่ยังไม่ถูกขายทอดตลาด ลูกหนี้เช่าซื้อสามารถใช้ช่องทางของงานมหกรรมไกล่เกลี่ยสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ในครั้งนี้ เพื่อเจรจากับเจ้าหนี้เช่าซื้อที่ร่วมงานเพื่อขอรถที่ถูกยึดไปคืน โดยเจ้าหนี้เช่าซื้อจะชะลอการขายทอดตลาด และปรับโครงสร้างหนี้ งานมหกรรมในครั้งนี้จะช่วยให้ลูกหนี้เช่าซื้อมีโอกาสที่จะนำรถกลับไปประกอบอาชีพหรือใช้ในชีวิตประจำวันได้ ซึ่งที่ผ่านมาเจ้าหนี้กับลูกหนี้เช่าซื้อจะเจรจากันเอง ไม่มีแนวทางที่ชัดเจน ทำให้โอกาสที่ลูกหนี้จะได้รถที่ถูกยึดคืนมีไม่มาก แต่ในครั้งนี้หวังว่าลูกหนี้ที่ถูกยึดรถไป ส่วนหนึ่งจะมีโอกาสที่จะได้รับรถคืนซึ่งเป็นทางเลือกที่ได้ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย

กลุ่มที่ 3 ลูกหนี้ที่รถถูกขายทอดตลาดแล้ว แต่ยังมีมูลหนี้เช่าซื้อส่วนที่ขาดกรณีรถถูกขายทอดตลาดแล้ว ปรากฏว่าเงินที่ได้รับนั้นน้อยกว่ายอดหนี้เช่าซื้อคงเหลือ ทำให้มียอดหนี้ส่วนขาด หรือ “ติ่งหนี้” ในงานมหกรรมครั้งนี้ สคบ.และ ธปท. ได้ร่วมกันศึกษาแนวคำพิพากษาของศาลยุติธรรมเกี่ยวกับการคำนวณยอดหนี้เช่าซื้อส่วนขาด และได้จัดทำโปรแกรมการคำนวณยอดหนี้เช่าซื้อส่วนขาดแบบง่ายๆ เพื่อให้ลูกหนี้จะได้ใช้คำนวณ

โดยลูกหนี้เช่าซื้อที่มีปัญหาเกี่ยวกับยอดหนี้เช่าซื้อส่วนขาดสามารถใช้ช่องทางของงานมหกรรมในครั้งนี้ไกล่เกลี่ยปัญหาที่เกิดขึ้นกับเจ้าหนี้ทั้งในส่วนที่ยังไม่มีการฟ้อง หรือฟ้องแล้ว ซึ่งคาดหวังว่าจะเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้เรื่องนี้เป็นธรรมมากขึ้น และช่วยให้เจ้าหนี้และลูกหนี้เช่าซื้อสามารถตกลงกันได้ง่ายขึ้นและตรงไปตรงมา

การจัดมหกรรมไกล่เกลี่ยสินเชื่อเช่าซื้อในครั้งนี้มุ่งหวังว่าจะเป็นอีกช่องทางที่ช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของลูกหนี้เช่าซื้อได้ ประชาชนที่มีหนี้เช่าซื้อรถยนต์หรือผู้ค้ำประกัน และหนี้เช่าซื้อถูกโอนขายไปยังบริษัทบริหารสินทรัพย์ สามารถลงทะเบียนขอไกล่เกลี่ยหนี้ในมหกรรมไกล่เกลี่ยออนไลน์ครั้งนี้ได้ ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2564 เป็นต้นไป ถึง 31 กรกฎาคม 2564 ผ่านเว็บไซต์ของ กรมคุ้มครองสิทธิ กระทรวงยุติธรรม สำนักงานศาลยุติธรรม สคบ. ธปท. และศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน (ศคง.) รวมทั้งเว็บไชต์ของผู้ให้บริการทางการเงินที่เข้าร่วมมหกรรมฯ

ทั้งนี้ ขอให้ลูกหนี้ศึกษาวิธีการกรอกข้อมูลอย่างละเอียด และกรอกข้อมูลให้ถูกต้องครบถ้วน เพราะข้อมูลที่ไม่ถูกต้องจะทำให้คำขอไกล่เกลี่ยของท่านไม่ได้รับการพิจารณาช่วยเหลือประชาชนที่ไม่ถนัดในการกรอกข้อมูลผ่านช่องทางออนไลน์ หรือต้องการความช่วยเหลือเพิ่มเติม สามารถติดต่อ ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน (ศคง.) โทรศัพท์ 1213 เพื่อขอคำแนะนำและความช่วยเหลือในการกรอกข้อมูล ในวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 8.30-16.30 น. หากนอกเวลาทำการสามารถฝากชื่อและเบอร์โทรศัพท์ได้ตลอด 24 ชั่วโมง หรือส่งอีเมลมาที่ [email protected] เพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับไป

นางธัญญนิตย์กล่าวย้ำว่า ผู้ประกอบธุรกิจเช่าซื้อภายใต้การกำกับของ ธปท. ทุกแห่ง จะต้องให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ตามมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยระยะที่ 3 นอกจากนี้ผู้ประกอบธุรกิจเช่าซื้อหลายแห่งที่ไม่ได้อยู่ภายใต้การกำกับของ ธปท. ก็มีแนวทางในการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ด้วยเช่นกัน หากลูกหนี้ไม่ได้รับความช่วยเหลือที่เหมาะสมหรือต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม สามารถแจ้งข้อมูลได้ที่ “ทางด่วนแก้หนี้” ของ ธปท. หรือ โทรศัพท์ 1213

Adblock test (Why?)


ธปท. เปิดมหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้เช่าซื้อรถยนต์ผ่านออนไลน์ 1 มิ.ย.-30 ก.ค.นี้ - ประชาชาติธุรกิจ
Read More

หุ้นไทยวันนี้ ปิดตลาดหุ้นเช้า ปรับขึ้น 7.95 ดัชนีอยู่ที่ 1,589 จุด - ไทยรัฐ

31 พ.ค. 2564 12:35 น.

หุ้นไทยวันนี้ ปิดตลาดหุ้นเช้า ปรับขึ้น 7.95 ดัชนีอยู่ที่ 1,589.93 จุด มูลค่าการซื้อขาย 40,136.22 ล้านบาท

การเคลื่อนไหวของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หรือหุ้นไทยวันนี้ ประจำวันที่ 31 พ.ค. 64 ครึ่งวันเช้าพบว่า ดัชนีปรับขึ้น 7.95 จุด เปลี่ยนแปลง 0.50% ดัชนีอยู่ที่ 1,589.93 จุด มูลค่าการซื้อขาย 40,136.22 ล้านบาท

ข่าวแนะนำ

สำหรับหลักทรัพย์ที่มีมูลค่าการซื้อขาย 5 อันดับแรก ได้แก่ 1. ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) 2. บริษัท อาร์ ซี แอล จำกัด (มหาชน) 3. บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) 4. บริษัท ทริพเพิล ไอ โลจิสติกส์ จำกัด (มหาชน) 5. บริษัท ฮานา ไมโครอิเล็คโทรนิคส จำกัด (มหาชน).

อ่านเพิ่มเติม...

Adblock test (Why?)


หุ้นไทยวันนี้ ปิดตลาดหุ้นเช้า ปรับขึ้น 7.95 ดัชนีอยู่ที่ 1,589 จุด - ไทยรัฐ
Read More

Sunday, May 30, 2021

ภาวะตลาดหุ้นไทย: ปิดเช้าบวก 7.95 จุด ดีกว่าตลาดภูมิภาครับแรงซื้อหุ้นรายตัวตามปัจจัยเฉพาะ - อาร์วายที9

ตลาดหลักทรัพย์ฯปิดช่วงเช้าวันนี้ที่ระดับ 1,589.93 จุด เพิ่มขึ้น 7.95 จุด (+0.50%) มูลค่าการซื้อขายราว 40,250 ล้านบาท

การซื้อขายหุ้นช่วงเช้าวันนี้ ดัชนีหุ้นไทยเคลื่อนไหวทั้งในแดนบวก-ลบ โดยทำระดับสูงสุด 1,591.99 จุด และระดับต่ำสุด 1,578.09 จุด

นายศราวุธ เตโชชวลิต ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.อาร์เอชบี (ประเทศไทย) กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยเช้านี้ปรับตัวขึ้นได้ดีกว่าตลาดหุ้นในภูมิภาคเอเชียส่วนใหญ่ที่ติดลบจากแรงขายทำกำไร และได้รับแรงกดดันจากดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) ของสหรัฐสูงกว่านักวิเคราะห์ฯคาดไว้

ส่วนตลาดบ้านเราขึ้นขานรับวัคซีนทางเลือก และยังมีแรงซื้อหุ้นรายตัวตามปัจจัยเฉพาะเข้ามาด้วย อย่างหุ้น BANPU รับแรงหนุนราคาถ่านหินปรับขึ้น และหุ้นกลุ่มขนส่งทางเรือ ค่าระวางเรือยังขึ้นมาต่อได้ อย่างไรก็ดี ตลาดฯก็ยังมีแรงกดดันจากการแพร่ระบาดโควิด-19 เข้าไปยังภาคอุตสาหกรรม

พร้อมแนะติดตามตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือน พ.ค.ของสหรัฐฯ ส่วนบ้านเราให้ติดตามการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในการพิจารณางานประมูลโครงการของภาครัฐฯในวันพรุ่งนี้

แนวโน้มการลงทุนในช่วงบ่ายนี้ นายศราวุธ กล่าวว่า ตลาดฯคงแกว่งผันผวนทั้งแดนบวก-ลบ พร้อมให้แนวรับ 1,580 จุด ส่วนแนวต้าน 1,590 จุด

ส่วนหลักทรัพย์ที่มีมูลค่าการซื้อขายสูงสุด 5 หลักทรัพย์ ได้แก่

KBANK มูลค่าการซื้อขาย 1,306.08 ล้านบาท ปิดที่ 120.00 บาท เพิ่มขึ้น 0.50 บาท

RCL มูลค่าการซื้อขาย 1,182.34 ล้านบาท ปิดที่ 54.50 บาท เพิ่มขึ้น 4.75 บาท

CPF มูลค่าการซื้อขาย 1,163.78 ล้านบาท ปิดที่ 27.00 บาท ลดลง 0.25 บาท

          III     มูลค่าการซื้อขาย    983.97 ล้านบาท  ปิดที่  12.20 บาท เพิ่มขึ้น  2.80 บาท
          HANA    มูลค่าการซื้อขาย    935.04 ล้านบาท  ปิดที่  60.50 บาท เพิ่มขึ้น  1.50 บาท

--อินโฟเควสท์ โดย พรเพ็ญ ดวงเฉลิมวงศ์/ศศิธร โทร.02-2535000 ต่อ 345 อีเมล์: sasithorn@infoquest.co.th--

Adblock test (Why?)


ภาวะตลาดหุ้นไทย: ปิดเช้าบวก 7.95 จุด ดีกว่าตลาดภูมิภาครับแรงซื้อหุ้นรายตัวตามปัจจัยเฉพาะ - อาร์วายที9
Read More

รัฐ-ธปท.-สมาคมธนาคารจับมือ ช่วยSMEsเข้าถึงสภาพคล่อง - ผู้จัดการออนไลน์

รัฐ-ธปท-สมาคมธนาคาร ผสานความร่วมมือเร่งช่วย SMEsเข้าถึงสภาพคล่องและโครงการพักทรัพย์ พักหนี้ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ การจ้างงานนักศึกษาจบใหม่

น.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ตามที่รัฐบาลได้ออก พ.ร.ก.การให้ความช่วยเหลือและฟื้นฟูผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 หรือ พ.ร.ก.ซอฟต์โลน ฉบับใหม่ ซึ่งประกอบด้วย

1. มาตรการสินเชื่อฟื้นฟูวงเงิน 250,000 ล้านบาท โดยช่วยเหลือผู้ประกอบการให้เข้าถึงสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ ไม่เกินร้อยละ 2 ต่อปี ในช่วง 2 ปีแรก เฉลี่ยไม่เกินร้อยละ 5 ต่อปี ตลอดระยะเวลามาตรการ

2. มาตรการสนับสนุนการรับโอนทรัพย์สินหลักประกันเพื่อชำระหนี้ โดยให้ผู้ประกอบธุรกิจมีสิทธิ์ซื้อทรัพย์สินนั้นคืนในภายหลัง หรือมาตรการพักทรัพย์ พักหนี้ วงเงิน 100,000 ล้านบาท มีผลบังคับใช้ เมื่อเม.ย.ที่ผ่านมาแล้วนั้น ซึ่งทางธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และสมาคมธนาคารไทย ตระหนักถึงความเร่งด่วนในเรื่องนี้ และได้มีการหารือกันไปแล้วเพื่อกำหนดแนวทางการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ให้รวดเร็ว เพียงพอ และถูกกลุ่มเป้าหมายอย่างทั่วถึง โดยเฉพาะกลุ่ม SMEs

สำหรับยอดการให้ความช่วยเหลือจากมาตรการสินเชื่อฟื้นฟูฯ ล่าสุดธปท.รายงานว่า อยู่ที่ 1.6 หมื่นล้านบาท ครอบคลุมลูกหนี้ 6พันกว่าราย โดย 63% กระจายไปยัง SMEs ขณะที่มาตรการพักทรัพย์พักหนี้ มีมูลค่าทรัพย์สินที่ได้รับโอน 910 ล้านบาท

ในส่วนของธนาคารรัฐ ได้มีการออกสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำอย่างหลากหลาย อาทิ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม มีสินเชื่อฟื้นฟูธุรกิจ ดอกเบี้ย 2% 2 ปีแรก ระยะเวลากู้ยืมสูงสุด 7 ปี สินเชื่อรายเล็กครอบคลุมธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากโควิด ทั้งทางตรงทางอ้อม ที่ไม่ต้องมีหลักทรัพย์ค้ำประกัน ธนาคารออมสิน มีสินเชื่อสำหรับธุรกิจท่องเที่ยว ดอกเบี้ยปีแรก 0.10% แล้วปรับเพิ่มในปีต่อไป ชำระเงินต้นภายใน 3 ปี และยังมีสินเชื่อให้กับ Startup และผู้ประกอบการ Non-Bank ส่วนธนาคารกรุงไทย มีสินเชื่อธุรกิจ ดอกเบี้ย 2% 2 ปีแรก ค้ำประกันโดย บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) เป็นต้น

นอกจากนี้ยังมีความร่วมมือระหว่างสมาคมผู้ค้าปลีกไทย กับธนาคารรายใหญ่ 5 แห่ง ในการเชื่อมโยงข้อมูลผู้ประกอบการ SMEs ในห่วงโซ่ค้าปลีก เพื่อให้การพิจารณาสินเชื่อเป็นไปอย่างสะดวกและรวดเร็ว ผ่าน digital factoring platformเบื้องต้น มีการอนุมัติสินเชื่อแก่ SMEs แล้วมากกว่า 1 พันราย โดย 70% เป็นผู้ที่ไม่เคยเข้าถึงสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำมาก่อน

สำหรับมาตรการพักทรัพย์พักหนี้ มีความคืบหน้าไปพอสมควร เนื่องจากเป็นมาตรการใหม่ ลูกหนี้จึงอยู่ในช่วงของการทำความเข้าใจในรายละเอียด กฎระเบียบ และวิธีการปฏิบัติ โดยกลุ่มที่ให้ความสนใจเข้าโครงการ อาทิ ธุรกิจโรงแรม อสังหาริมทรัพย์ และอสังหาฯให้เช่า กระจายอยู่ทั้งในกรุงเทพฯและต่างจังหวัด ซึ่งธนาคารพาณิชย์ต่างๆ คาดว่า จะมีผู้เข้าโครงการเพิ่มขึ้นอีกมากในเร็วๆ นี้

"ทั้งนี้ ในภาพรวม รัฐบาลได้เร่งเดินหน้าแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจประเทศ ครอบคลุมการส่งออก การลงทุนจากภาครัฐที่เน้นการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ การลงทุนจากต่างประเทศ และการบริโภคภายในประเทศ รวมถึงการดูแลผู้ประกอบการSMEs ให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนดอกเบี้ยต่ำร่วมกับ ธปท. พร้อมไปกับการรักษาระดับการจ้างงาน การช่วยเหลือนักศึกษาจบใหม่ให้มีงานทำ" รองโฆษกฯ กล่าว

Adblock test (Why?)


รัฐ-ธปท.-สมาคมธนาคารจับมือ ช่วยSMEsเข้าถึงสภาพคล่อง - ผู้จัดการออนไลน์
Read More

บอร์ด GULF หั่นราคาเสนอซื้อ ADVANC ลงเหลือหุ้นละ 120.93 บาท - ประชาชาติธุรกิจ

หุ้นไทย

บอร์ด GULF หั่นราคาเสนอซื้อ ADVANC ลงเหลือหุ้นละ 120.93 บาท (เดิมกำหนด 122.86 บาท)

เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2564 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ ADVANC แจ้งตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) ถึงความคืบหน้ากรณีบริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) ประสงค์จะเข้าทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดโดยสมัครใจแบบมีเงื่อนไขก่อนทำคำเสนอซื้อ (Conditional Voluntary Tender Offer) ในหลักทรัพย์ของบริษํท อินทัช โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) หรือ INTUCH และ หลักทรัพย์ของ AIS

โดยล่าสุด ที่ประชุมคณะกรรมการของ GULF เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2564 มีมติพิจารณาที่อาจเริ่มทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดของ ADVANC โดยสมัครใจ (Voluntary Tender Offer) ในวันทำการเดียวกันกับการทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ INTUCH และเปลี่ยนแปลงราคาเสนอซื้อเป็นหุ้นละ 120.93 บาท (เดิมกำหนด 122.86 บาท)

ทั้งนี้ GULF อยู่ระหว่างหารือกับสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เพื่อขอผ่อนผันให้ GULF ไม่มีหน้าที่ในการทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ตามหลักเกณฑ์ Chain Principle อีก และ ขอผ่อนผันการจัดเตรียมแหล่งเงินทุน เพื่อรองรับการทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดของ ADVANC รวมถึงเงื่อนไขอื่น ๆ ก่อนทำคำเสนอซื้อ โดยหากได้รับการผ่อนผันครบถ้วนทุกข้อ GULF จึงจะดำเนินการทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดโดยสมัครใจของ ADVANC

QR Code LINE@ Prachachat

ไม่พลาดข่าวสำคัญ เจาะลึกทุกประเด็น
เพิ่มเราเป็นเพื่อนทาง @prachachat

ติดตามข่าวธุรกิจ

Adblock test (Why?)


บอร์ด GULF หั่นราคาเสนอซื้อ ADVANC ลงเหลือหุ้นละ 120.93 บาท - ประชาชาติธุรกิจ
Read More

HILITE: ITEL บวก 4.65% ได้งานโครงการระบบรบกวนอากาศยานไร้คนขับ มูลค่า 552.70 - อาร์วายที9

หุ้น ITEL ราคาวิ่งขึ้น 4.65% มาอยู่ที่ 4.50 บาท เพิ่มขึ้น 0.20 บาท มูลค่าซื้อขาย 180.17 ล้านบาท เมื่อเวลา 10.24 น. โดยเปิดตลาดที่ 4.40 บาท ราคาปรับตัวขึ้นสูงสุดที่ 4.54 บาท และราคาปรับตัวลงต่ำสุดที่ 4.36 บาท

บมจ.อินเตอร์ลิ้งค์ เทเลคอม (ITEL) เปิดเผยว่า บริษัทฯ ได้ลงนามในสัญญากับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) ตามโครงการจัดหารถยนต์ปฏิบัติการพร้อมติดตั้งระบบตรวจจับอากาศยานไร้คนขับ แบบ 1 เซ็นเซอร์ และอุปกรณ์รบกวนสัญญาณควบคุมอากาศยานไร้คนขับ พร้อมอุปกรณ์รบกวนสัญญาณไร้คนขับแบบพกพา (Drone Gun) จำนวน 11 คัน มูลค่างานทั้งสิ้น 552,694,725.00 บาท โดยมีกำหนดการส่งมอบและติดตั้ง ภายใน 270 วัน นับถัดจากวันลงนามในสัญญา คาดว่าจะได้มีการลงนามสัญญาจ้างในเดือนมิ.ย. 64


--อินโฟเควสท์ โดย พรเพ็ญ ดวงเฉลิมวงศ์/รัชดา โทร.02-2535000 ต่อ 317 อีเมล์: rachada@infoquest.co.th--

Adblock test (Why?)


HILITE: ITEL บวก 4.65% ได้งานโครงการระบบรบกวนอากาศยานไร้คนขับ มูลค่า 552.70 - อาร์วายที9
Read More

5 แพลตฟอร์มฟู้ดเดลิเวอรี่ หั่นค่าต๋งช่วยร้านค้าไปต่อ - TNN24

"จุรินทร์" เผย 5 แพลตฟอร์มฟู้ดเดลิเวอรี่ หั่นค่าจีพีเหลือ 25%ให้ร้านค้า พร้อมลดราคาค่าอาหาร-ค่าส่งเริ่ม 1 มิ.ย.-30 มิ.ย.นี้ คาดช่วยเศรษฐกิจหมุนเวียน 2,000 ล้าน เดินหน้าจับคู่ร้านอาหาร-แบงก์เข้าถึงแหล่งเงินทุนดอกเบี้ยต่ำ

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรมว.พาณิชย์ เปิดเผยว่า ในวันที่ 1-30 มิ.ย.นี้ ผู้ประกอบการแพลตฟอร์มฟู้ดเดลิเวอรี่ทั้ง 5 ราย ลดค่า คอมมิชชั่น (Gross Profit) หรือ จีพี มาอยู่ที่ 25% จากเดิมเฉลี่ย 30 -35% ประกอบด้วย 1. Robinhood 2. foodpanda 3. Grab 4. Gojek และ 5. Lineman โดยผู้ประกอบการแพลตฟอร์มจะสูญเสียรายได้ ในส่วนของค่าจีพีที่ 250-350 ล้านบาท ยกเว้น Robinhood ไม่คิดค่าจีพีและ foodpanda ไม่คิดค่าจีพีสำหรับร้านใหม่

นอกจากนี้ยังลดค่าอาหารที่ขายผ่านแพลตฟอร์มทั้ง 5 แพลตฟอร์มสูงสุด 60% และจะลดค่าขนส่ง 4 แพลตฟอร์ม ใน 3-5 กิโลเมตรแรก ลดสูงสุดจาก 40 บาทเหลือ 0 บาท ในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล สำหรับค่าจีพี ส่วนค่าอาหารจะลดทั่วประเทศ เพื่อช่วยร้านอาหารที่สายป่านกำลังจะขาดมีรายได้เพิ่มขึ้น และช่วยผู้บริโภคซื้อสินค้าหรืออาหารในราคาที่ถูกลงในช่วงโควิด คาดว่าช่วยให้เศรษฐกิจไทยหมุนเวียนได้ไม่ต่ำกว่า 2,000 ล้านบาท

ขณะเดียวกันได้จับคู่สถาบันการเงินกับร้านอาหารทั่วประเทศเพื่อให้เข้าถึงแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำและปลอดหลักทรัพย์ค้ำประกันโดยกระทรวงพาณิชย์จะเป็นตัวกลางซึ่งได้รับความร่วมมือจาก 6 สถาบันการเงิน ในวันที่ 1-6 มิ.ย. 2564 ในรูปแบบออนไลน์

สำหรับร้านอาหารที่มีโอกาสเข้าถึงแหล่งเงินกู้คือร้านอาหารที่ จดทะเบียนไว้ที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้าเป็นนิติบุคคล 15,967 ร้าน และบุคคลธรรมดา 103,000 ร้าน รวมแล้ว 118,967 ร้าน ซึ่งช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้ไม่ต่ำกว่า 2,000 ล้านบาท

นายสมศักดิ์ เกียรติชัยลักษณ์ เลขาธิการคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า (กขค.) กล่าวว่า ผู้ให้บริการดิจิตอลแพลตฟอร์มทั้ง 5 ราย ได้ให้ความร่วมมือในการลดค่าจีพีเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบธุรกิจร้านอาหาร ในส่วนของ Grab, Foodpanda และ Lineman ปรับลดค่าจีพีจากเดิม 30% ลดเหลือ 25% ระยะเวลา 1 เดือน ตั้งแต่วันที่ 1-30 มิ.ย. ตามเงื่อนไขของผู้ให้บริการ และ Gojek ปรับลดค่าจีพี จากเดิม 30% ลดเหลือ 25% ตั้งแต่วันนี้ -27 มิ.ย. ส่วน Robinhood ไม่เก็บค่าจีพี

อย่างไรก็ตามหากผู้ประกอบธุรกิจร้านอาหารพบว่าผู้ประกอบธุรกิจมีการเรียกเก็บค่าจีพี และค่าธรรมเนียมอื่นๆ อย่างไม่เป็นธรรม ซึ่งอาจเข้าข่ายการกระทำความผิดตามกฎหมายการแข่งขันทางการค้า จะมีโทษปรับทางปกครอง ในอัตราไม่เกิน 10% ของรายได้ในปีที่กระทำ ความผิด และสามารถร้องเรียนได้ที่สำนักงานคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า

Adblock test (Why?)


5 แพลตฟอร์มฟู้ดเดลิเวอรี่ หั่นค่าต๋งช่วยร้านค้าไปต่อ - TNN24
Read More

“จุรินทร์”ช่วยชาวนาเกลือ สั่งเร่งกระจายผลผลิต คุมเข้มนำเข้า สกัดตีตลาด - ผู้จัดการออนไลน์



“จุรินทร์”นำทีมพาณิชย์ลงพื้นที่จังหวัดเพชรบุรี หามาตรการช่วยชาวนาเกลือ หลังได้รับผลกระทบจากโควิด-19 เตรียมใช้เงินกองทุน คชก.เข้าดูแล ให้เซลส์แมนจังหวัดกระจายผลผลิต พร้อมคุมเข้มเกลือนำเข้า ป้องกันเข้ามาตีตลาด พร้อมช่วยเพิ่มมูลค่านำไปผลิตเป็นสบู่ เครื่องสำอาง และดันเป็นแหล่งท่องเที่ยว

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยภายหลังลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์สินค้าเกษตร และพบปะเกษตรกรชาวนาเกลือ ณ ตลาดกลางเกษตรหนองบ้วย อําเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี ว่า กระทรวงพาณิชย์ได้ร่วมกับนายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายรณรงค์ พูลพิพัฒน์ รองปลัดกระทรวงพาณิชย์ นายกีรติ รัชโน อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ นายวัฒนศักย์ เสือเอี่ยม อธิบดีกรมการค้าภายใน และนางวันเพ็ญ มังศรี รองผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรี ไปพบปะหารือกับชาวนาเกลือ เพื่อหามาตรการช่วยเหลือเกลือราคาตกต่ำ หลังจากได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 ทำให้ขายได้น้อยลง และยังได้รับผลกระทบจากการนำเข้าเกลือจากอินเดียเข้ามาตีตลาด

โดยการช่วยทำตลาดเกลือในประเทศ จะแก้ปัญหาระยะสั้นด้วยการใช้งบจากกองทุนคณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.) เข้ามาช่วยดูแลเฉพาะการ เช่นเดียวกับพืชเกษตรตัวอื่นที่มีปัญหาตามฤดูกาล เช่น มะนาวและมะม่วง เป็นต้น และจะให้ทีมงานเซลส์แมนจังหวัดช่วยดำเนินการหาตลาด เพื่อกระจายผลผลิตด้วย

ส่วนเกลือนำเข้าจากอินเดีย ได้สั่งการให้กรมการค้าต่างประเทศออกประกาศ 1.ผู้นำเข้าเกลือเข้ามาในประเทศต้องขึ้นทะเบียนผู้นำเข้า 2.ต้องมีเอกสารแสดงว่านำเข้าจากประเทศไหน เมืองไหน อย่างไร เพื่อควบคุมกำกับการนำเข้าโดยการนำเข้า แจ้งพิกัดชัดเจน ซึ่งที่ผ่านมา กรมศุลกากรมีพิกัดเดียวสำหรับเกลือ จากนี้ไปจะแยกเป็น 2 พิกัด คือ 1.เกลือบริโภค และ 2.เกลืออุตสาหกรรม ให้มีการแจ้งรายละเอียดของการนำมากระจายในประเทศ เพื่อช่วยดูแลเกษตรกรผู้ทำนาเกลือในประเทศให้ได้รับความเป็นธรรม ไม่ถูกเกลือนอกเข้ามาตีตลาด โดยประกาศนี้ ผ่านที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) แล้ว ล่าสุดอยู่ในขั้นตอนกฤษฎีกากำลังพิจารณา คาดว่าจะเสร็จในวันที่ 9 มิ.ย.2564 ถ้าเสร็จตามนั้น จะลงนามบังคับใช้ต่อไปโดยเร็ว

สำหรับระยะยาว จะให้จังหวัดเพชรบุรี จังหวัดสมุทรสาคร ร่วมกันแก้ปัญหาผลผลิตเกลือให้มีคุณภาพ จะได้ไม่ถูกกดราคา และเรื่องการแปรรูปจะเข้ามาดูว่ามีแผนการกำกับอย่างไร จะเพิ่มนวัตกรรม เพิ่มมูลค่าเป็นสินค้าอย่างอื่นเช่น สบู่ เครื่องสำอาง และเครื่องใช้อื่นๆ รวมทั้งการช่วยสนับสนุนการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม เพื่อให้นาเกลือเป็นแหล่งท่องเที่ยวอีกอันนึงของประเทศต่อไป

นอกจากนี้ ได้ช่วยเรื่องปัญหาหนี้สินเกษตรกรผู้ทำนาเกลือ ที่มีหนี้สินกับกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรโดยตนในฐานะรองนายกรัฐมนตรีกำกับดูแลอยู่ ได้ช่วยคลี่คลายปัญหาได้เยอะสำหรับเกษตรกรที่เป็นหนี้กองทุนฟื้นฟูฯ เปิดโอกาสให้สามารถนำหนี้ที่เป็นหนี้สถาบันการเงินมาเปลี่ยนเป็นหนี้กองทุนฟื้นฟูฯ ได้ เพราะถ้าเปลี่ยนมาเป็นหนี้กองทุนฟื้นฟูฯ และชำระกับกองทุนฟื้นฟูฯ การดำเนินคดีจะผ่อนปรนลงและมีเงื่อนไขผ่อนปรนกว่าการเป็นหนี้กับสถาบันการเงิน ช่วยให้เกษตรกรมีโอกาสชำระหนี้ได้เต็มจำนวนในอนาคต และเปิดโอกาสให้ผู้ที่เป็นหนี้ต่ำกว่า 2.5 ล้านบาท สามารถเปลี่ยนเป็นหนี้กองทุนฟื้นฟูได้ และผู้ที่มีหนี้เกินกว่า 2.5 ล้านบาท ตนเปิดโอกาสแล้วที่จะให้เข้ามาเป็นหนี้กองทุนได้เป็นกรณีไป ชาวนาเกลือจำนวนหนึ่งเป็นหนี้เกิน 2.5 ล้านบาท เพราะตีมูลค่าที่ดินด้วย จึงทำให้มีราคาสูง


Adblock test (Why?)


“จุรินทร์”ช่วยชาวนาเกลือ สั่งเร่งกระจายผลผลิต คุมเข้มนำเข้า สกัดตีตลาด - ผู้จัดการออนไลน์
Read More

ขยายเวลามาตรการภาษี ย้ายฐานการผลิตของนักลงทุนต่างชาติ - โพสต์ทูเดย์

ขยายเวลามาตรการภาษี ย้ายฐานการผลิตของนักลงทุนต่างชาติ

วันที่ 30 พ.ค. 2564 เวลา 18:00 น.

สรรพากรขยายเวลามาตรการภาษีพัฒนาบุคลากร และรองรับการย้ายฐานการผลิตของนักลงทุนต่างชาติ

คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้อนุมัติหลักการขยายระยะเวลามาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการพัฒนาบุคลากรสำหรับอุตสาหกรรม 4.0 และมาตรการภาษีเพื่อรองรับการย้ายฐานการผลิตของนักลงทุนต่างชาติ (Thailand Plus Package) ออกไปถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2565 เพื่อส่งเสริมให้เกิดการลงทุนและการพัฒนาในอุตสาหกรรมเป้าหมาย และรองรับการย้ายฐานการผลิตของนักลงทุนต่างชาติ รวมทั้งส่งเสริมให้มีการพัฒนาบุคลากรและการจ้างงานที่มีศักยภาพสูงเพื่อยกระดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศ และเตรียมความพร้อมขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ภายหลังจากสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) คลี่คลายลง

นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ อธิบดีกรมสรรพากร กล่าวว่า กระทรวงการคลังโดยกรมสรรพากรตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศ ให้เป็นไปตามเป้าหมายในยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศ สนับสนุนการเพิ่มผลิตภาพและการเตรียมกำลังคนสำหรับอุตสาหกรรม 4.0 เพื่อเตรียมความพร้อมในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจภายหลังจากสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 (COVID-19) คลี่คลายลง จึงได้เสนอคณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการ ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่. ...) พ.ศ. .... (ขยายระยะเวลามาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการพัฒนาบุคลากรสำหรับอุตสาหกรรม 4.0 และมาตรการภาษีเพื่อรองรับการย้ายฐานการผลิตของนักลงทุนต่างชาติ (Thailand Plus Package)) เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2565 โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1. มาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการพัฒนาบุคลากรสำหรับอุตสาหกรรม 4.0 กำหนดให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหักรายจ่ายทรัพย์สินที่บริจาคให้แก่ศูนย์ส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรสำหรับอุตสาหกรรม 4.0 ที่จัดตั้งโดยสถานศึกษาของรัฐ สถาบันอุดมศึกษาเอกชน หรือโรงเรียนเอกชน แต่ไม่รวมถึงโรงเรียนนอกระบบได้ 3 เท่า และยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการบริจาคทรัพย์สิน โดยต้องไม่นำต้นทุนของทรัพย์สินไปหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ ทั้งนี้ สำหรับการบริจาคตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2564 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2565

2. มาตรการภาษีเพื่อรองรับการย้ายฐานการผลิตของนักลงทุนต่างชาติ (Thailand Plus Package)โดยให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหักรายจ่ายที่ได้จ่ายไปตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2564 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2565 สำหรับรายจ่ายดังต่อไปนี้

2.1 รายจ่ายสำหรับการลงทุนในระบบอัตโนมัติหักได้ 2 เท่า

2.2 รายจ่ายสำหรับการจ้างงานบุคลากรผู้มีทักษะสูงหักได้ 1.5 เท่า

2.3 รายจ่ายสำหรับการส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรให้มีทักษะสูงหักได้ 2.5 เท่า

นายเอกนิติ กล่าวว่า การขยายระยะเวลามาตรการภาษีในครั้งนี้เป็นการดำเนินการต่อเนื่อง เพื่อสนับสนุนการพัฒนาบุคลากรของประเทศให้มีทักษะสูงพร้อมสำหรับอุตสาหกรรม 4.0 และอุตสาหกรรมเป้าหมายเป็นกลไกในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจเพื่ออนาคต (New Engine of Growth) และรองรับการย้ายฐานการผลิตของนักลงทุนต่างชาติ ส่งเสริมให้เกิดการลงทุน ในระบบอัตโนมัติในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกรวมทั้งการจ้างงานบุคลากรผู้มีทักษะสูง และเมื่อสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) คลี่คลายลง จะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยให้เดินหน้าต่อไปได้อย่างต่อเนื่อง

ทั้งนี้ สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานสรรพากรทุกแห่งทั่วประเทศ หรือศูนย์สารนิเทศสรรพากร (RD Intelligence Center) โทร. 1161

Adblock test (Why?)


ขยายเวลามาตรการภาษี ย้ายฐานการผลิตของนักลงทุนต่างชาติ - โพสต์ทูเดย์
Read More

ราคาทองพุ่งสูงสุดรอบ 6 เดือน คนแห่ขายเอาเงินไปใช้จ่าย-จ่ายค่าเทอม - เรื่องเล่าเช้านี้

Adblock test (Why?)


ราคาทองพุ่งสูงสุดรอบ 6 เดือน คนแห่ขายเอาเงินไปใช้จ่าย-จ่ายค่าเทอม - เรื่องเล่าเช้านี้
Read More

Saturday, May 29, 2021

รัฐบาลจับมือ ธปท.-สมาคมธนาคาร ช่วย SME เข้าถึงสภาพคล่องและโครงการพักทรัพย์พักหนี้ - ผู้จัดการออนไลน์


รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกฯ (แฟ้มภาพ)
รองโฆษกสำนักนายกฯ เผย รัฐบาล-ธปท.-สมาคมธนาคาร จับมือเร่งช่วย SME เข้าถึงสภาพคล่องและโครงการพักทรัพย์พักหนี้ ย้ำภาพรวมเร่งแก้ปัญหาฟื้นฟูเศรษฐกิจ

วันนี้ (30 พ.ค.) นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ตามที่รัฐบาลได้ออกพระราชกำหนดการให้ความช่วยเหลือและฟื้นฟูผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 หรือ พ.ร.ก.ซอฟต์โลน ฉบับใหม่ ซึ่งประกอบด้วย 1) มาตรการสินเชื่อฟื้นฟูวงเงิน 250,000 ล้านบาท โดยช่วยเหลือผู้ประกอบการให้เข้าถึงสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ ไม่เกินร้อยละ 2 ต่อปี ในช่วง 2 ปีแรก เฉลี่ยไม่เกินร้อยละ 5 ต่อปี ตลอดระยะเวลามาตรการ และ 2) มาตรการสนับสนุนการรับโอนทรัพย์สินหลักประกันเพื่อชำระหนี้ โดยให้ผู้ประกอบธุรกิจมีสิทธิ์ซื้อทรัพย์สินนั้นคืนในภายหลัง หรือมาตรการพักทรัพย์พักหนี้ วงเงิน 100,000 ล้านบาท มีผลบังคับใช้ เมื่อ เม.ย.ที่ผ่านมาแล้วนั้น ซึ่งทางธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และสมาคมธนาคารไทยตระหนักถึงความเร่งด่วนในเรื่องนี้ และได้มีการหารือกันไปแล้วเพื่อกำหนดแนวทางการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ให้รวดเร็ว เพียงพอ และถูกกลุ่มเป้าหมายอย่างทั่วถึง โดยเฉพาะกลุ่ม SME สำหรับยอดการให้ความช่วยเหลือจากมาตรการสินเชื่อฟื้นฟู ล่าสุด ธปท. รายงานว่า อยู่ที่ 1.6 หมื่นล้านบาท ครอบคลุมลูกหนี้ 6 พันกว่าราย โดย 63% กระจายไปยัง SMEs ขณะที่มาตรการพักทรัพย์พักหนี้ มีมูลค่าทรัพย์สินที่ได้รับโอน 910 ล้านบาท

ในส่วนของธนาคารรัฐ ได้มีการออกสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำอย่างหลากหลาย อาทิ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม มีสินเชื่อฟื้นฟูธุรกิจ ดอกเบี้ย 2% 2 ปีแรก ระยะเวลากู้ยืมสูงสุด 7 ปี สินเชื่อรายเล็กครอบคลุมธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ทั้งทางตรงทางอ้อม ที่ไม่ต้องมีหลักทรัพย์ค้ำประกัน ธนาคารออมสิน มีสินเชื่อสำหรับธุรกิจท่องเที่ยว ดอกเบี้ยปีแรก 0.10% แล้วปรับเพิ่มในปีต่อไป ชำระเงินต้นภายใน 3 ปี และยังมีสินเชื่อให้กับ Startup และผู้ประกอบการ Non-Bank ส่วนธนาคารกรุงไทย มีสินเชื่อธุรกิจ ดอกเบี้ย 2% 2 ปีแรก ค้ำประกันโดย บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) เป็นต้น มากไปกว่านั้น ยังมีความร่วมมือระหว่างสมาคมผู้ค้าปลีกไทย กับธนาคารรายใหญ่ 5 แห่ง ในการเชื่อมโยงข้อมูลผู้ประกอบการ SME ในห่วงโซ่ค้าปลีก เพื่อให้การพิจารณาสินเชื่อเป็นไปอย่างสะดวกและรวดเร็ว ผ่าน digital factoring platform เบื้องต้นมีการอนุมัติสินเชื่อแก่ SMEs แล้วมากกว่า 1 พันราย โดย 70% เป็นผู้ที่ไม่เคยเข้าถึงสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำมาก่อน

นางสาวรัชดา กล่าวด้วยว่า สำหรับมาตรการพักทรัพย์พักหนี้ มีความคืบหน้าไปพอสมควร เนื่องจากเป็นมาตรการใหม่ ลูกหนี้จึงอยู่ในช่วงของการทำความเข้าใจในรายละเอียด กฎระเบียบ และวิธีการปฏิบัติ โดยกลุ่มที่ให้ความสนใจเข้าโครงการ อาทิ ธุรกิจโรงแรม อสังหาริมทรัพย์ และอสังหาฯให้เช่า กระจายอยู่ทั้งในกรุงเทพฯและต่างจังหวัด ซึ่งธนาคารพาณิชย์ต่างๆ คาดว่า จะมีผู้เข้าโครงการเพิ่มขึ้นอีกมากในเร็วๆ นี้

“ทั้งนี้ ในภาพรวม รัฐบาลได้เร่งเดินหน้าแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจประเทศ ครอบคลุมการส่งออก การลงทุนจากภาครัฐที่เน้นการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ การลงทุนจากต่างประเทศ และการบริโภคภายในประเทศ รวมถึงการดูแลผู้ประกอบการ SME ให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนดอกเบี้ยต่ำร่วมกับ ธปท. พร้อมไปกับการรักษาระดับการจ้างงาน การช่วยเหลือนักศึกษาจบใหม่ให้มีงานทำ” รองโฆษกฯ กล่าว

Adblock test (Why?)


รัฐบาลจับมือ ธปท.-สมาคมธนาคาร ช่วย SME เข้าถึงสภาพคล่องและโครงการพักทรัพย์พักหนี้ - ผู้จัดการออนไลน์
Read More

"เพื่อไทย"ติงงบด้านการศึกษาถูกตัดกว่า2หมื่นล้านยิ่งทำให้ชาติล้าหลัง - โพสต์ทูเดย์

"เพื่อไทย"ติงงบด้านการศึกษาถูกตัดกว่า2หมื่นล้านยิ่งทำให้ชาติล้าหลัง

วันที่ 30 พ.ค. 2564 เวลา 10:33 น.

พรรคเพื่อไทยอัดยับรัฐบาลตัดงบการศึกษาทำไทยยิ่งล้าหลัง ชี้ถ้าไม่ยกเลิกแท็บเล็ตป่านนี้ดิจิตอลอีโคโนมีไทยไปอีกไกลแล้ว

เมื่อวันที่ 30 พ.ค.น.ส.ธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ ส.ส.กทม. ประธานอนุกรรมการนโยบายด้านสวัสดิการ พรรคเพื่อไทย เปิดเผยว่า งบประมาณรายจ่ายปี 2565 มีวงเงิน 3.1 ล้านล้านบาท ลดลงจากปี 2564 ถึง 1.85 แสนล้านบาท หรือลดลง 5.66% ซึ่งแสดงความเสื่อมถอยของประเทศ โดยมีการตัดงบประมาณกระทรวงศึกษาธิการถึง 2.45 หมื่นล้านบาท หรือลดลง 6.75% ซึ่งนับว่าถูกตัดงบสูงมาก ทั้งที่การศึกษาเป็นความจำเป็นที่จะต้องพัฒนาให้เด็กไทยมีความเฉลียวฉลาดมากขึ้นเพื่อแข่งขันกับประเทศอื่นได้ในอนาคต แต่พลเอกประยุทธ์กลับตัดงบการศึกษาอย่างมาก ยิ่งตอกย้ำความไม่สามารถแยกแยะความสำคัญในเรื่องต่างๆได้เลย

ทั้งนี้ ตลอด 7 ปีที่ผ่านมาคุณภาพการศึกษาของไทยตกต่ำ อยู่อับดับท้ายๆของกลุ่มประเทศในอาเซียนมาตลอด ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานของไทยจัดอยู่ในอันดับ 6 ของประเทศในกลุ่มอาเซียน โดยไทยตามหลังเวียดนาม ขณะที่ระดับอุดมศึกษาอยู่อันดับ 8 ซึ่งเป็นที่น่าตกใจว่าเราตามหลังกัมพูชาและฟิลิปปินส์ ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าอับอายมาก แต่พลเอกกลับไม่เคยแก้ไขแถมยังจะมาตัดงบประมาณอีก ซึ่งจะยิ่งทำให้คุณภาพของการศึกษาไทยตกต่ำลงไปอีก

น.ส.ธีรรัตน์ กล่าวว่า หากจำกันได้สมัยรัฐบาลพรรคเพื่อไทย ที่นำโดยอดีตนายกฯ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้มีโครงการแจกแท็บเล็ตให้กับนักเรียน ป 1 ทุกคน ซึ่งเป็นแนวคิดเพื่อที่จะปรับปรุงและปฏิรูปการศึกษา อีกทั้งยังเตรียมพร้อมเด็กนักเรียนรวมถึงผู้ปกครองให้เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจดิจิตอล โดยพรรคเพื่อไทยได้มีวิสัยทัศน์ล่วงหน้าแล้วตั้งแต่ 10 ปีที่แล้วตอนร่วมกันคิดโครงการนี้ ว่าเศรษฐกิจดิจิตอลของโลก จะมีขนาดใหญ่โตมากขึ้นในอนาคต ซึ่งปัจจุบันก็ได้พิสูจน์แล้วว่าเศรษฐกิจดิจิตอลได้ขยายตัวและโตอย่างมากตามที่พรรคเพื่อไทยคาดการณ์ไว้ คนที่รวยที่สุด และ บริษัทที่รวยที่สุดในโลกต่างก็มาจากเศรษฐกิจดิจิตอลกันทั้งนั้น เช่น นายเจฟฟ์ เบโซส์ ของอเมซอน นายอีลอน มัสก์ของเทสลา นายมาร์ค ซัคเคอเบิร์ก ของ เฟซบุ๊ค นายแจ๊ก หม่า ของอาลีบาบา นายโพนี่ หม่า ของเทนเซ็นต์ เป็นต้น ซึ่งหากไม่มีการปฏิวัติและไม่มีการยกเลิกโครงการดังกล่าว ป่านนี้การพัฒนาการศึกษาไทย และการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิตอลของไทย คงไปได้ไกลกว่านี้มาก ประเทศไทยคงมีบริษัทเทคโนโลยีระดับยูนิคอร์นกันหลายบริษัทแล้ว แต่ตอนนี้กลับไม่มีเลย

อย่างไรก็ตาม จึงอยากเสนอให้มีการปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงระบบการศึกษาไทยอย่างจริงจัง เพื่อให้เข้ากับอนาคตของโลก และเข้ากับทิศทางการสร้างงานของโลก นักศึกษาจบมาจะต้องมีงานทำและต้องมีรายได้มากๆ เพื่อยกระดับคนชั้นกลาง อย่าให้เป็นเหมือนปัจจุบันที่นักศึกษาจบแล้วไม่มีงานทำ ตกงานกันเป็นแสนเป็นล้านคนแล้ว อีกทั้งรัฐบาลก็ต้องทำให้ประเทศมีอนาคตและน่าอยู่ ไม่ใช่สร้างความรู้สึกให้คนรุ่นใหม่อยากย้ายออกไปอยู่ต่างประเทศกัน เหมือนที่มี แฮชแท็ก #ย้ายประเทศกันเถอะ ที่มีคนเข้าร่วมกว่าล้านคนแล้ว ซึ่งถ้าหากคนเก่งคนฉลาดอยากไปอยู่ประเทศอื่นจริง จะทำให้เกิดสมองไหล ประเทศไทยจะพัฒนาต่อได้ยาก จึงอยากขอเตือนพลเอกประยุทธ์ในเรื่องเหล่านี้ และอยากให้มีการพัฒนาระบบการศึกษาอย่างจริงจัง โดยพรรคเพื่อไทยได้มีแผนในการพัฒนาและการสร้างงานรองรับการศึกษาอย่างครบวงจรแล้ว โดยงบการศึกษาและการบริหารการศึกษาที่ผิดพลาดมาตลอดนี้ จะต้องถูกอภิปรายในญัตติงบประมาณปี 65 ที่เข้าสภาเร็วนี้อย่างแน่นอน

Adblock test (Why?)


"เพื่อไทย"ติงงบด้านการศึกษาถูกตัดกว่า2หมื่นล้านยิ่งทำให้ชาติล้าหลัง - โพสต์ทูเดย์
Read More

ปิดตลาดหุ้นไทยลบ 0.98 จุด เดลินิวส์ การเงินและการลงทุน - เอ็มเอสเอ็น

© สนับสนุนโดย เดลินิวส์ บรรยากาศหุ้นไทยวันที่28 พ.ค.64เคลื่อนไหวแดนบวกและลบ โดยช่วงเช้าปรับขึ้นจากแรงเข้าซื้อของหุ้นขนาดใหญ่ อย่างกลุ่ม ปตท.ตามราคาน้ำมันดิบที่เพิ่มขึ้น ขณะที่ช่วงบ่ายดัชนีค่อยๆ ปรับลดลงจากนักลงทุนขายทำกำไรและลดความเสี่ยงก่อนวันหยุดเสาร์- อาทิตย์ จนกระทั่งเข้าสู่แดนลบในช่วงท้ายตลาด ส่งผลให้ดัชนีปิดที่1,581.98 จุดลดลง 0.98 จุดหรือ0.06%ด้วยมูลค่า99,508.23 ล้านบาทส่วนตลาดเอ็มเอไอ ปิดที่480.20 จุดเพิ่มขึ้น 0.02 จุดหรือ0%ด้วยมูลค่า4,230.20 ล้านบาท

นายกิติชาญ ศิริสุขอาชา ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์รายย่อย บล.ซีจีเอส ซีไอเอ็มบี (ประเทศไทย) กล่าวว่า ภาคการส่งออกประเทศไทยในช่วงที่เหลือของปี ยังมีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่อง เพราะฐานปีก่อนอยู่ในระดับต่ำ หลังได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดโควิด-19 แต่ปีนี้ เศรษฐกิจโลกเริ่มส่งสัญญาณการฟื้นตัว หลายประเทศทั่วโลกคลายมาตรการล็อกดาวน์ และประเทศมหาอำนาจ อย่างสหรัฐ กระจายการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ได้รวดเร็ว โดยหุ้นที่ได้รับประโยชน์ปัจจัยดังกลุ่ม คือ หุ้นในกลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ และอาหารและเครื่องดื่ม

หลักทรัพย์ที่มีการซื้อขายสูงสุด 5 อันดับ ได้แก่

1.ธ.กสิกรไทย ปิดที่ 119.50 บาท ลดลง -2.00 บาท

2.เคทีซี ปิดที่ 73.25 บาท ลดลง -0.25 บาท

3.ซีบีจี ปิดที่ 131.50 บาท เพิ่มขึ้น 3.50 บาท

4.ไอทีดี ปิดที่ 2.76 บาท เพิ่มขึ้น 0.40 บาท

5.อาร์ซีแอล ปิดที่ 49.75 บาท เพิ่มขึ้น 4.00 บาท

Adblock test (Why?)


ปิดตลาดหุ้นไทยลบ 0.98 จุด เดลินิวส์ การเงินและการลงทุน - เอ็มเอสเอ็น
Read More

เงินบาทแข็งค่า-หุ้นไทยปรับขึ้น จับตา 5 ปัจจัยสำคัญสัปดาห์หน้า - ประชาชาติธุรกิจ

เงินบาท-หุ้นไทย

เงินบาทแข็งค่าขึ้นเล็กน้อย ขณะที่หุ้นไทยปรับขึ้นตามหุ้นต่างประเทศ และความหวังในการเร่งฉีดวัคซีนในประเทศ จับตา ปัจจัยสำคัญสัปดาห์หน้า ทั้งการพิจารณาร่างพ.ร.บ. งบประมาณประจำปี 2565 รายงานเศรษฐกิจการเงินเดือนเม.ย. ของธปท. สถานการณ์โควิดทั้งในปละต่างประเทศ  การกระจายวัคซีน การประชุมโอเปกพลัส

วันที่ 30 พฤษภาคม 2564 ศูนย์วิจัยกสิกรไทย สรุปความเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทว่า เงินบาทแข็งค่าขึ้นเล็กน้อย โดยเงินบาทขยับแข็งค่าขึ้นตามทิศทางค่าเงินหยวนและสกุลเงินส่วนใหญ่ในภูมิภาค ประกอบกับมีแรงหนุนเพิ่มเติมจากสถานะซื้อสุทธิพันธบัตรไทยของนักลงทุนต่างชาติ และข้อมูลการส่งออกเดือนเม.ย. ของไทยที่เติบโตดีกว่าตัวเลขคาดการณ์ของตลาด

นอกจากนี้เงินดอลลาร์ฯ ยังเผชิญแรงกดดันระหว่างสัปดาห์ หลังจากเจ้าหน้าที่ระดับสูงของเฟดออกมากล่าวย้ำว่า เฟดจะยังคงผ่อนคลายนโยบายการเงินอย่างต่อเนื่อง และมองว่า เงินเฟ้อของสหรัฐฯ จะเป็นภาวะชั่วคราว

ในวันศุกร์ (28 พ.ค.) เงินบาทอยู่ที่ระดับ 31.25 เทียบกับระดับ 31.38 บาทต่อดอลลาร์ฯ ในวันศุกร์ก่อนหน้า (21 พ.ค.)

baht-kresearch-30May

สำหรับสัปดาห์ถัดไป (31 พ.ค.-4 มิ.ย.) ธนาคารกสิกรไทยมองกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทที่ 31.15-31.50 บาทต่อดอลลาร์ฯ ขณะที่ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตาม ได้แก่ ตัวเลขดุลบัญชีเดินสะพัดและรายงานเศรษฐกิจการเงินเดือนเม.ย. ของธปท. รวมถึงสถานการณ์โควิด 19 ในประเทศ

ขณะที่ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญ ประกอบด้วย ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตร อัตราการว่างงาน การจ้างงานภาคเอกชนจาก ADP ดัชนี PMI/ISM ภาคการผลิตและบริการเดือนพ.ค. รายจ่ายด้านการก่อสร้างเดือนเม.ย. จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ และรายงาน Beige Book ของเฟด

นอกจากนี้ตลาดยังรอติดตามการประชุม G-7 สถานการณ์โควิด 19 ในต่างประเทศ และดัชนี PMI ภาคการผลิตและบริการเดือนพ.ค. ของจีน ยูโรโซน และอังกฤษเช่นกัน

SET-Kresearch-30 may

ส่วนความเคลื่อนไหวของตลาดหุ้นไทย หุ้นไทยปรับตัวขึ้นจากสัปดาห์ก่อน โดยดัชนี SET ปิดที่ระดับ 1,581.98 จุด เพิ่มขึ้น 1.90% จากสัปดาห์ก่อน ขณะที่มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันอยู่ที่ 110,624.15 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 22.58% จากสัปดาห์ก่อน ส่วนดัชนี mai เพิ่มขึ้น 1.02% มาปิดที่ 480.20 จุด

หุ้นไทยแกว่งตัวในกรอบแคบช่วงต้นสัปดาห์ ก่อนจะดีดตัวขึ้นในช่วงที่เหลือของสัปดาห์ตามแรงซื้อหุ้นกลุ่มพลังงาน เทคโนโลยีและการเงิน ประกอบกับมีปัจจัยหนุนจากตัวเลขส่งออกไทยเดือนเม.ย. ที่ขยายตัวดี พ.ร.ก. กู้เงิน 5 แสนล้านบาทเพื่อเยียวยาโควิด 19 และความคาดหวังต่อโอกาสในการนำเข้าวัคซีนทางเลือกเพิ่มเติม

นอกจากนี้บรรยากาศตลาดหุ้นต่างประเทศหลังตัวเลขแรงงานสหรัฐฯ ออกมาดีก็ช่วยหนุนทิศทางหุ้นไทยด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ดีนักลงทุนต่างชาติยังมีสถานะขายสุทธิหุ้นไทย ขณะที่การปรับลดน้ำหนักลงทุนหุ้นไทยโดย MSCI มีผลในสัปดาห์นี้

สำหรับสัปดาห์ถัดไป (31 พ.ค. – 4 มิ.ย.) บริษัทหลักทรัพย์กสิกรไทย จำกัด มองว่า ดัชนีหุ้นไทยมีแนวรับที่ 1,575 และ 1,565 จุด ขณะที่แนวต้านอยู่ที่ 1,600 และ 1,615 จุด ตามลำดับ

โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตาม ได้แก่ การพิจารณาร่างพ.ร.บ. งบประมาณประจำปี 2565 สถานการณ์โควิด 19 ตลอดจนการควบคุมสถานการณ์การระบาดและการกระจายวัคซีนโควิด 19 ในประเทศและต่างประเทศ รวมถึงการประชุมโอเปกพลัส

ส่วนข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญ ได้แก่ ดัชนี PMI ภาคการผลิตและการบริการ ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรและอัตราการว่างงานเดือนพ.ค. ขณะที่ปัจจัยต่างประเทศที่สำคัญอื่นๆ ได้แก่ ดัชนี PMI ภาคการผลิตและการบริการเดือนพ.ค. ของจีน ญี่ปุ่นและยูโรโซน

Adblock test (Why?)


เงินบาทแข็งค่า-หุ้นไทยปรับขึ้น จับตา 5 ปัจจัยสำคัญสัปดาห์หน้า - ประชาชาติธุรกิจ
Read More

เงินบาทผันผวน จับตาปัจจัยสำคัญสัปดาห์หน้า-เงินเฟ้อเดือนม.ค.ของไทย - ประชาชาติธุรกิจ

[unable to retrieve full-text content] เงินบาทผันผวน จับตาปัจจัยสำคัญสัปดาห์หน้า-เงินเฟ้อเดือนม.ค.ของไทย    ประชาชาติธุรกิจ ดูเรื่องราวจากท...